e-learning กระแสของการศึกษาทางเลือกใหม่ของการเรียนรู้
จากการรัฐบาลได้วางยุทธศาสตร์ และกำหนดความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์กับการพัฒนาประเทศไทยให้เป็น สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ เพื่อใช้และสร้างภูมิปัญญาของคนไทยที่จะนำไปสู่การพัฒนาประเทศชาติให้มีความ แข็งแกร่งและ ความสามารถที่จะรับการท้าทายของการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจใหม่ของสังคมโลกาภิวัฒน์ได้อย่างเต็มที่ โดยได้กำหนด กรอบนโยบายฯ ไว้ 3 เรื่องคือ
1. ความท้าทายในยุคโลกาภิวัฒน์
2. สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
3. ประเทศไทยในทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 21
นโยบายฯนี้มีสาระโดยรวมว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่รวมคอมพิวเตอร์ สารสนเทศและการสื่อสาร(โทรคมนาคม) ไว้ด้วย กัน โดยกำหนดให้เรียกว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communications Technology :ICT) ก่อให้เกิดกิจกรรมใหม่ๆในทางเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลต่อการดำรงอยู่และการพัฒนาของประเทศที่แตกต่างไปจากอดีต อย่างมาก และเป็นที่ยอมรับกันว่าในศตวรรษที่ 21นี้จะเกิดเศรษฐกิจใหม่ที่เรียกว่า “เศรษฐกิจแห่งภูมิ ปัญญาและการ เรียนรู้” (Knowledge-based Learning Economy)
“สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้” จึงเป็นอีกจุดมุ่งหมายหลักในการพัฒนาประเทศไทยของภาครัฐที่ต้องการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษาของชาติให้เป็น “สังคมดิจิตอล สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการเรียน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Centered)” ที่เน้นด้านการผลิตความรู้ การกระจายความรู้ และการใช้ความรู้ ให้ เกิดประโยชน์ต่อตนเองและประเทศชาติ
การก้าวสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ เป็นกลยุทธ์หนึ่งในกลยุทธ์ 5e ซึ่งประกอบด้วย
• เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านภาครัฐ (e-Government)
• เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านพาณิชย์ (e-Commerce)
• เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม (e-Industry)
• เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านการศึกษา (e-Education)
• เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านสังคม (e-Society)
• เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านภาครัฐ (e-Government)
• เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านพาณิชย์ (e-Commerce)
• เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม (e-Industry)
• เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านการศึกษา (e-Education)
• เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านสังคม (e-Society)
ในส่วนของด้านการศึกษา (e-Education) รัฐมีเป้าหมายอย่างแท้จริงในการเสริมสร้างความพร้อมของทรัพยากร มนุษย์ เพื่อช่วยผลักดัน พัฒนาให้เกิดสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ รัฐได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อให้เกิด ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและอุปกรณ์การศึกษาและการเรียนรู้ รวมถึง วิชาการ ความรู้ สารสนเทศต่างๆ และศักยภาพที่ดีของผู้สอน อันจะมีส่วนในการจัดการ และการบริหารการศึกษา และการฝึกอบรม ทั้งวิชาการและทักษะเพื่อ พัฒนาและยกระดับคุณภาพความรู้ให้เป็นประชากร กำลังคน และกำลังแรงงาน ที่มีคุณภาพ และสมบูรณ์ด้วยภูมิปัญญา และการเรียนรู้ สามารถสร้างสรรค์เศรษฐกิจและสังคมไทย ให้มีความเจริญก้าวหน้าไปโดยเร็ว
ในส่วนสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ เราไม่อาจ ปฏิเสธได้เลยว่า ขณะนี้เรากำลังอยู่ท่ามกลางกระแสเทคโนโลยีที่มีการ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เป็นยุคของข้อมูลและข่าวสาร รวมถึงการเรียนรู้ไร้พรมแดนที่ไม่ยึดติดกับกาลเวลา เป็นยุคของโลก ดิจิตอล รูปแบบของการศึกษาในประเทศไทยก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สอดรับกับกระแสของเทคโนโลยีการ เรียนรู้ ที่เปลี่ยนแปลงไป ในเส้นทางของการจัดการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต.(web-based) ก็มีพัฒนาการมาไม่น้อย เช่นกัน นับได้ว่าปัจจุบันกระแสของการจัดการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือที่ต่างเรียกกันว่า e-learning มีการพัฒนา ไปในทุกภาคส่วน
รูปแบบของ e-learning เริ่มมีขึ้นในช่วงต้นปี 1982 ยุคนั้นถูกนำมาใช้ในวงการศึกษาด้วยรูปแบบของสื่อ ที่เรียกว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI (Computer Assisted Instruction) แม้ว่าจะยังอยู่บนระบบปฏิบัติการ DOS แต่ก็ได้รับความ นิยมจนถูกนำไปพัฒนาสร้างสื่อเพื่อใช้ในการฝึกอบรมหรือ CBT(Computer Based Training) ซึ่งช่วงปี 1982 -1983 ถือ เป็นช่วงเวลาที่ CBT เฟื่องฟูกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาบุคลากรในองค์กรและแวดวงธุรกิจกันอย่างแพร่หลาย
ด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คือในช่วงระยะเวลาต่อมา(1984-1993) การพัฒนา e-learning เพื่อ การเรียนการสอนถูกพัฒนาอย่างจริงจังเมื่อ Microsoft ได้ออกระบบปฏิบัติการ multitasking รูปแบบกราฟิกอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน 1985 ที่ชื่อว่า Windows1.x ที่ทำให้ตอบสนองความเป็นมัลติมีเดียที่สมบูรณ์มากขึ้น ตลอดระยะเวลา 10 ปีของยุคนี้ถือเป็น อีกช่วงที่ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows และ Macintosh มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญในยุคของ Microsoft Windows 3.x ได้สนองตอบความเป็นมัลติมีเดียได้ดีและสมบูรณ์ แบบมากขึ้น มีการใช้ CD-Rom มาบันทึกและอ่านข้อมูล สามารถนำบทเรียนเนื้อหาการเรียนการ สอนหรือการฝึกอบรม สร้างเป็นสื่อในรูปของ CD-Rom ไปศึกษา หรือเรียนรู้ด้วยตนเองได้ ในทุก สถานที่ ทุกเวลา ตามที่ต้องการ และในช่วงเวลานี้ภาษา html เริ่มเข้ามีบทบาท แต่ด้วยการสร้าง web เพื่อการเรียนการสอนด้วย html ยังเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ค่อยง่ายนัก และกระบวนการเชื่อมต่อ การเข้าถึงยังมีค่าใช้จ่ายค่อน ข้างสูง ที่สำคัญเวลาการแสดงผล การเข้าถึงข้อมูลในเชิงกราฟิกนั้นต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก ทำให้รูปแบบ e-learning บน เส้นทางนี้ไม่แพร่หลายเท่าที่ควร ที่มีก็จะแสดงข้อมูลแบบ text เสียส่วนใหญ่ แต่ก็ถือได้ว่า e-learning ได้รุกก้าวเข้าสู่สังคม การเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า Internet based learning หรือ web-based learning แม้ในยุคต้นจะประสบ ปัญหาด้านความเร็วด้าน bandwidth ในการนำเสนอข้อมูลเชิงกราฟิก และมัลติมีเดีย ก็ตาม
จากกระแสการเปลี่ยนแปลงทางด้านระบบปฏิบัติการ Ms Windows 95 ในช่วงเดือนสิงหาคมปี 1995 ที่มาพร้อมกับ Internet Explorer ที่ชาญฉลาด รวมถึงเทคโนโลยีการสื่อสารที่รองรับการส่งผ่านสัญญาณได้ดีขึ้น ทำให้เส้นทางบน web นี้ กลายเป็นเป้าหมายและเส้นทางที่สำคัญของการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ทางการศึกษาและนับเป็นจุดเริ่มต้นของ e-learning อย่างแท้จริง เป็นยุคที่เกิดคำศัพท์ที่บัญญัติขึ้นใหม่ในวงการ e-learning หลายคำอาทิ WBI, WBT, ILT, LMS, CMS
เมื่อก้าวสู่ยุคปี 2000 ช่วงนี้กระแสของระบบปฏิบัติการ Windows 98 เป็นระบบปฏิบัติการ รุ่นต่อจาก Windows 95 ที่ได้รับความนิยมสูงสุด แม้จะมีระบบปฏิบัติการ Windows Me ออกมา แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรยังมีผู้ใช้ Windows 98 อยู่เป็นจำนวนมาก ช่วงเวลานี้นับเป็นยุคที่ เทคโนโลยีการสื่อสารมีความก้าวหน้าสามารถสนองตอบในการส่งผ่านข้อมูลที่ ความเร็วสูงๆ โดยใช้ เวลาที่น้อยลง ผนวกกับวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถประมวลผลข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น จึงเป็นส่วนช่วยให้สามารถนำเสนอหรือส่งผ่านข้อมูลมัลติมีเดียที่รวดเร็วกว่าแต่เดิม จากความก้าวหน้าในสองประการนี้ทำให้ การจัดการศึกษา และการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถสนองต่อกลไกการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี มีประสิทธิภาพมาก ที่สุดนับเป็นยุคของ e-learning อย่างแท้จริง ยุคนี้กำหนดให้อยู่ในช่วงปี ค.ศ. 2000-2005
แม้ว่า e-learning มีผู้ให้คำจำกัดความหรือความหมายไว้หลากหลายความหมาย แต่ในปัจจุบันถือได้ว่า e-learning จะหมายถึงการเรียนด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหา (delivery methods) ผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องมือ หรือวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประกอบด้วย เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีด้านบริหารการจัดการศึกษา เทคโนโลยีเครือข่าย ผสมผสานสนองต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง ที่ผู้เรียนจะเลือกเรียนตามความสามารถและความสนใจของตนเอง โดยเนื้อหา และบทเรียนจะถูกออกแบบหน้าแสดงผลการเรียนรู้ที่ผสมผสานระหว่างข้อความ, รูปภาพ, ภาพเคลื่อนไหวและภาพยนตร์ (วิดีทัศน์ หรือ Streaming) รวมถึง มัลติมีเดียในรูปแบบอื่นๆ ตามความเหมาะสม ด้วยกลไกและกระบวนการในการสนับสนุนการเรียนรู้ต่างๆ ที่หลากหลาย สรรสร้างเป็นสื่อที่มีกระบวนการ interactive พร้อมด้วยส่วนนำทาง (navigation) องค์ประกอบเหล่านี้จะถูกผนวกรวมบนหน้าต่างความรู้อย่างลงตัว ส่งไปถึงผู้เรียนผ่าน Web browser โดยผู้เรียน ครูผู้สอน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระหว่างกันได้ เหมือนกับอยู่ห้องเรียนจริงตามปกติ โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารรูปแบบต่างๆ อาทิ ทาง email, Web-board Chat และอื่นๆอีก
e-learning จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน ทุกเวลา ทุกสถานที่ (Learn for all, anyone anywhere and anytime) ข้อมูลล่าสุด (พ.ศ.2558) ได้ประมาณการว่าบนสังคมบนอินเทอร์เน็ตมีสมาชิกเข้ามาใช้งานมากกว่า 7.4 พัน ล้านคน : อ้างอิง www.internetlivestats.com/internet-users/
อินเทอร์เน็ตนับเป็นอีกเส้นทางในการดำเนินวิถีชีวิตสังคมดิจิตอล ตลอดระยะเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา ด้วยพลังขับเคลื่อนของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โครงข่ายการสื่อสารและ Browser ที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดเป็นผลทำให้ กระแสของเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แทรกซึมไปในทุกวงการ ไม่ว่าด้านสังคม ด้านธุรกิจ ด้านข่าวสาร บันเทิง การเงิน การแพทย์ การท่องเที่ยว การบริการในด้านอื่นๆอีกมาก รวมถึงด้านการศึกษา กระแสของ e-Education จึงเติบโตอย่างรวดเร็ว นับเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญในการศึกษา รวมถึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาบุคลากรของหน่วยงาน หรือองค์กรกันอย่างกว้างขวาง
จากการที่สังคมการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทั้งในแบบ Web-based learning และ e-learning มีการใช้กัน อย่างแพร่หลาย รวมไปถึงเทคโนโลยีด้านการเรียนรู้ บนสังคมนี้มีพัฒนาการต่อเนื่องอย่างไม่มีขีดจำกัด ทำให้มีการปรับนิยามยุคของ e-learning ขึ้นใหม่ จาก 4 ยุคเดิม ทั้งนี้เพื่อจะได้รองรับ generation ใหม่ของ e-Learning ในยุคถัดไปได้
มาตรฐานของ e-learning
จากการที่กระบวนการจัดการศึกษาออนไลน์ในแบบ e-learning ที่สมบูรณ์ แบบนั้น จำเป็นต้องมีระบบการบริหาร จัดการหลักสูตร (Course Management System หรือ Learning Management System: CMS/LMS) ซึ่งระบบส่วนใหญ่นั้น จะประกอบ ส่วนจัดการหลักสูตร/รายวิชา (Course Management) ส่วนส่งเสริม การเรียนรู้ (Supporting Management) และส่วนจัดการข้อมูล (Data Management) ทั้งในส่วนผู้บริหาร/ควบคุมหลักสูตร รวมถึงผู้เรียนที่มีอยู่ในระบบ นอกจากนี้หากใน ระบบของสถานศึกษาที่มีครูผู้สอนหลายคนและเปิดสอนในหลายหมวดวิชา จำเป็นต้อง มีระบบการจัดเนื้อหาการสอน (Learning Content Management System :LCMS) ซึ่ง จะเป็นส่วนควบคุมเนื้อหาวิชาที่ใช้ในการ เรียนการสอน และในการบริหารจัดเนื้อหา (Subject Management Expert : SME) ของวิชาที่รับผิดชอบ
จากการที่ e-learning มีการพัฒนากันอย่างหลากหลายทั้งในสถาบันการศึกษาต่างๆ รวมถึงองค์กรทางธุรกิจทำให้ LMS / CMS และ LCMS มีสภาพแวดล้อมของระบบที่แตกต่างกันไป แต่หลักการมาตรฐานของ e-learning นั้นต้องมีระบบ ที่สามารถเรียกดูฐานข้อมูลหรือสื่อการเรียนการสอนร่วมกันได้
กลไกการรักษามาตรฐานของ e-learning จึงเริ่มขึ้น เริ่มจากหน่วยงาน AICC (Airline Industry Computer-Based Training Committee : http://www.aicc.org/) ของสหรัฐอเมริกา ได้พิจารณาในเรื่องการรักษามาตรฐานของ e-learning ซึ่งสรุปได้ ว่ามีเพียงLCMS ที่เป็นรายละเอียดของตัวหลักสูตรรายวิชา, ข้อกำหนดในรายวิชา, เนื้อหาและสื่อสำหรับจัดการเรียนการสอน รวมถึงข้อมูลประกอบร่วมอื่นๆในหลักสูตรเท่านั้นที่ต้องใช้ร่วมกัน (Sharable Content Object) ในลักษณะรูปแบบ Meta-data ที่สามารถติดต่อระหว่างกันได้ทั่วโลกในมาตรฐานเดียวกันใน 3 องค์ประกอบคือ content, services และ technology มาตรฐานนี้เรียกว่า “SCORM” (Sharable Content Object Reference Model) ปัจจุบันนี้องค์กรที่ทำหน้าที่กำหนด พัฒนา มาตรฐาน e-learning ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ประกอบด้วย 4 องค์กร หลัก ได้แก่ AICC, IEEE, IMS และ ADL
ข้อกำหนดมาตรฐาน SCORM ของ e-learning มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
1. มาตรฐาน SCORM ด้าน Content Package มาตรฐานนี้กำหนดให้รวมข้อมูลหรือการ Package ข้อมูล อาทิ text, image, multimedia เข้าเป็นก้อนหรือเป็น unit เดียวกัน ซึ่งในมาตรฐานส่วนนี้จะช่วยปกป้อง ความถูกต้องของข้อมูล รักษาสิทธิส่วนบุคคล ปกป้องการเข้าใช้ข้อมูลจากผู้ไม่มีสิทธิ์ รวมถึงป้องกันการดัดแปลงและคัดลอก ข้อมูลได้อย่างค่อนข้างสมบูรณ์ เพราะ ข้อมูลนี้ถูกรวมไว้เป็นก้อนเดียวกัน
2. มาตรฐาน SCORM ด้าน API (Application Program Interface) มาตรฐานนี้จะหมายถึงข้อกำหนดต่างๆ ของ Data หลักสูตรต้องเหมือนกัน เพื่อ ให้ข้อมูลบทเรียนมีการส่งและการเข้าถึงข้อมูล ได้รวดเร็วและได้ง่ายเหมือนกัน
สำหรับในประเทศไทยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช : NSTDA National Science and Technology Development Agency) โดยให้หน่วยงานที่ตั้งขึ้นในลักษณะโครงการพิเศษ ชื่อ “การเรียนรู้แบบออนไลน์ แห่ง สวทช.( NSTDA Online Learning Project ; NOLP) ทำหน้าที่รักษามาตรฐาน SCORM โดยอ้างอิงมาตรฐาน SCORM จากสหรัฐอเมริกา ที่เรียกว่า ADL SCORM (Advanced Distributed Learning SCORM)
e-learning ในยุคต่อไป แม้ว่าหลักการของ e-learning จะมุ่งเน้นที่กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนได้มีอิสระในการเรียนรู้ ครู “ผู้สอน” (Teacher) จะต้องเปลี่ยนบทบาทมาเป็น “ผู้แนะนำ” (Facilitator) หรือที่ปรึกษาการเรียนรู้ ส่วนตัวของ “ผู้เรียน” (Learner) นั้นต้องเปลี่ยนจากผู้ที่คอยรับองค์ความรู้จากการสอนมาเป็น“ผู้แสวงหา” (Researcher) ด้วยการค้นคว้า เสาะ แสวงหาความรู้ ความชำนาญการจาก ผู้รู้ แหล่งเรียนรู้ต่างๆ เพื่อพัฒนา สร้างองค์ความรู้และใช้องค์ความรู้นั้นๆ ด้วยตนเอง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ธรรมชาติของผู้เรียนยังคงเป็น ผู้เรียนมากกว่าจะเป็นผู้แสวงหา อันเป็นผลมาจากการถ่ายทอดซึมซับ พฤติกรรมจากสถานศึกษา ที่สำคัญการปรับเปลี่ยนของครู ในรูปครูชั้นเรียนมาสู่ครูยุคดิจิตอลยังคงเปลี่ยนแปลงได้ช้ามาก ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น e-learning ที่ใช้ในวงการศึกษาไทยส่วนมากจะอยู่ในลักษณะสื่อเสริม (Supplementary) ที่ ใช้ประกอบในการเรียน การสอนปกติ และจะเป็นลักษณะของสื่อเพิ่มเติม (Complementary) ที่มีการกำหนดหัวข้อเนื้อหา และ กิจกรรมให้ผู้เรียน ไปศึกษาหรือสืบค้นจากแหล่งข้อมูล สื่อ และ Website ส่วนการนำ e-learning มาใช้ในลักษณะของ สื่อหลัก (Comprehensive Replacement) ที่ใช้เป็นสื่อทดแทนการเรียนการสอนอย่างสมบูรณ์แบบครบกระบวนการเรียนรู้ ในตัวเอง เหมือนเรียนในชั้นเรียนนั้นยังมีน้อยมาก
จากการที่โลกของการศึกษา โดนเฉพาะ e-learning นั้นได้มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาผันแปรไปตามพัฒนาการทางเทคโนโลยี รวมถึง generation ของ e-learning ที่เปลี่ยนไป ซึ่งสอดคล้องกับคำพูดของ Nicholas Negroponte ได้กล่าวไว้ว่า “อินเทอร์เน็ตสามารถเปลี่ยนแปลงทุกอย่างได้ และอินเทอร์เน็ตส่งผลให้การศึกษาและการฝึกอบรมเปลี่ยนแปลงตามไป ด้วยเช่นกัน” นับจากปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา e-learning ได้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งรูปแบบของการสร้างเนื้อหา การติดต่อสื่อสาร รวมถึง เทคโนโลยีของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนไป โดยจะมุ่งเน้นการเข้าถึงองค์ความรู้และข้อมูลการสร้างความเป็นมิตรกับผู้เรียนมากที่สุด ดังนั้นการพัฒนา e-learning ให้เป็นทางเลือกของการศึกษาอย่างสมบูรณ์นั้น ผู้พัฒนาจึงควรสร้างฐานการเรียนรู้ให้มี สภาพ แวดล้อมที่มีความเป็นมิตร เป็นกันเองมากที่สุด ไม่ควรยึดติดเงื่อนไขรูปแบบการศึกษาในห้องเรียน
เงื่อนไขการพัฒนา e-learning นั้นไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวนัก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะของตัวฐาน(based)ความรู้ กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้เรียน ที่สำคัญอีกประการก็คือจุดประสงค์หลักในการสร้างฐานความรู้ที่มุ่งเน้นจะให้ผู้เข้าชม (เข้าเรียน) นั้นมีผลสัมฤทธิ์เป็นเช่นใด แต่อาจจะยึดองค์ประกอบที่สร้างความสนใจให้กับผู้เรียนได้ดี ที่เรียกว่า 5 e เป็นส่วนประกอบใน การสร้าง e-learning ก็ได้ อันได้แก่
1. Entertainment: บทเรียนต้องมีความเร้าใจ น่าสนใจ ที่สร้างให้เกิดความรู้สึกที่อยากเรียน
2. Ethics: หลักสูตรและบทเรียนที่สร้างมีจริยธรรมสนับสนุนให้ผู้เรียนซื่อสัตย์ ผู้สอนต้องรู้จักการยอมรับความคิดเห็นของผู้เรียน
3. Equity: มีความเท่าเทียมเสมอภาค ให้โอกาสในการเข้าถึงเนื้อหา ข้อมูลการเรียนรู้ที่เท่าเทียมกัน
4. Excellence: วางแผนและออกแบบในการสร้างบทเรียนตอบสนองต่อการเรียนรู้ที่ดีที่สุด มีความเที่ยงตรงถูกต้อง
5. Empowerment (to learners): ให้อิสระแก่ผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม ในการเข้าถึงสาระการเรียนรู้ ภายใต้เงื่อนไขของสาระการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้
ลักษณะของ e-learning ในโลกของการศึกษายุคใหม่นี้เป็นการเติมเต็ม จากเทคโนโลยีที่มีอยู่แต่เดิม เพิ่มช่องทางการเข้าถึงองค์ความรู้ด้วยเทคโนโลยี mobile การใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัสดิจิตอล รวมถึงความสามารถช่องทางของ การสื่อสารเป็นสำคัญ มุ่งเน้นด้วยหลักการ Learning and Life นอกจากจะใช้ ฐานการเรียนรู้บน web-based เหมือนเดิมแล้ว เนื้อหา ข้อมูลเพื่อการเรียนรู้จะ ต้องยืดหยุ่นและน่าสนใจ เน้นการมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ แบบ Blogging Podcasting และ Gamesโดยจำลองการเรียนรู้ก้าวสู่โลกเสมือนของ 3D และ Simulation ที่รองรับจินตนาการของผู้เรียน ตาม concept ของบทเรียนอย่างไร้ ขีดจำกัด สิ่งที่น่าสังเกตของยุคนี้คือการพัฒนา Learning Object ให้มีขนาดที่ เล็กลง รองรับการส่งผ่าน ข้อมูลผ่านเทคโนโลยี mobile หรือที่หลายคนเรียกว่า Mobile learning
Concept ของ Learning Object ต้องเป็นข้อมูลเฉพาะเนื้อหาเดียวที่ มีขนาดเล็ก เป็นชิ้นส่วนสื่อที่ถ่ายทอดแนวคิดของสาระใจความสำคัญให้กับ ผู้เรียน โดยการนำเสนออย่างเป็นลำดับข้อมูลที่เข้าใจง่าย นำไปสู่แนวทางที่ให้ ผู้เรียนวิเคราะห์ หรือแปลผลเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวของผู้เรียนเอง
Learning Object ก็คือชิ้นส่วน multimedia (ข้อความ, ภาพนิ่ง, ภาพ เคลื่อนไหว, เสียง, ภาพยนตร์ และอื่นๆ)
มาตรฐานของ Learning Object หรือ LO มาตรฐานของ Learning Object ประกอบด้วยคุณลักษณะ ที่สำคัญ คือ
1. Portability: ต้อง comportable ในทุกระบบปฏิบัติการและระบบ CMS
2. Accessibility: ต้องสนับสนุน มุ่งประโยชน์ให้ผู้เรียนเข้าถึงสาระการเรียนรู้ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
3. Durability: มีความเสถียรภาพต่อระบบปฏิบัติการและ software ที่มีการ พัฒนาเปลี่ยน version ที่สูงขึ้น
4. Interoperability: ต้องรองรับการแลกเปลี่ยน การแสดงผลต่าง Browser ต่าง CMS ได้อย่างสมบูรณ์ดังที่กล่าวในข้างต้น ถึง 4 องค์กรหลักที่มีความสำคัญต่อการความคุมมาตรฐาน e-learning
เรามาดูรายละเอียดของแต่ละองค์กรกัน AICC คือ องค์กรที่รวมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญสากล ด้านการฝึกอบรมบนฐานเทคโนโลยี ซึ่งได้สร้างระบบ CBT เป็นแนว ทางให้กับอุตสาหกรรมการบิน AICC ได้เผยแพร่ข้อแนะนำที่น่าสนใจมากมายและหลากหลาย แต่มาตรฐานของ AICC ที่ ส่งผลกระทบสำคัญที่สุดต่อ e-learning ก็คือ CMI (Computer-Managed Instruction)
ดูข้อมูลองค์กรที่ http://www.aicc.org/
IEEE คือ องค์กรสากลที่กำหนดมาตรฐานทางเทคนิคและข้อกำหนด หรือข้อแนะนำสำหรับระบบไฟฟ้า เทคนิคทาง อิเลคทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ภายใน IEEE มีคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานเทคโนโลยีการเรียนรู้ (Learning Technology Standard Committee- LTSC) เป็นผู้ให้ข้อกำหนดที่อธิบายแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด ซึ่งสามารถตรวจสอบเพื่อ ให้ได้ผลที่สอดคล้อง ข้อกำหนดของ IEEE LTSC ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางที่สุดคือ LOM (Learning Object Metadata) ซึ่งเป็นรูปแบบสื่อการเรียนรู้ใหม่ที่ถือเป็นนวัตกรรมของการเรียนรู้ใหม่ ซึ่งสามารถเข้าไปศึกษา รายละเอียดเพิ่มเติมที่ website
ดูข้อมูลองค์กรที่ http://www.ieee.org
IMS Global Consortium คือ สมาคมของ suppliers ที่เน้นความสำคัญของการใช้ metadata รวมถึง Content Packaging ซึ่ง IMS ยังวางข้อกำหนดวิธีการที่ LMS ติดต่อสื่อสารกับหน่วย Application หลัก (back-end applications) และ Content Objects หรือส่วนเก็บข้อมูล
ดูข้อมูลองค์กรที่ http://www.imsproject.org
ADL คือ องค์กรหลักที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา มีบทบาททำหน้าที่ในการวิจัย พัฒนาข้อกำหนด เพื่อกระตุ้นการใช้และความก้าวหน้าของ e-learning ผลงานของ ADL ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคือ SCORM (Shareable Content Object Reference Model) ซึ่งข้อกำหนดใน SCORM ได้รวมเอาข้อกำหนดสำคัญที่ดีที่สุดของ IEEE, AICC และ IMS เข้าเป็นหนึ่งเดียว ดูข้อมูลองค์กรที่ http://www.adlnet.gov/index.cfm
อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.learningcircuits.org/2005/jul2005/ellis.htm
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่
http://www.northeducation.ac.th/
http://www.aicc.org/
http://www.ieee.org/
http://www.imsproject.org/
http://www.adlnet.gov/scorm/index.cfm
http://www.amanet.org/books/catalog/0814407218_ch26.htm
http://www.learningcircuits.org/2002/oct2002/taylor.html
http://www.learningcircuits.org/2005/jul2005/ellis.htm
http://projects.ischool.washington.edu/sasutton/IEEE1484.htm
เรียบเรียงโดย สุวัฒน์ ธรรมสุนทร (พฤษภาคม 2549 ปรับปรุง มกราคม 2558)
ไม่มีความคิดเห็น
Do not recommend gambling sites of any kind. If violated, will be prosecuted according to the law.
ขอบคุณที่ได้ให้ความสนใจบทความ ใน mediathailand network ครับ