การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ : e-learning
บทนำ
ปัจจุบันพบว่า มีความสับสนในด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในหลากหลายด้าน อาทิ ในเรื่องของนวัตกรรมทางการศึกษา มีความสับสนกันระหว่าง ระบบและวิธีการเรียนรู้ (Systems approach to learning) กับสื่อการเรียนรู้ (Media for learning) นักการศึกษาหลายรายมองเห็น e-learning มีสถานะเพียงแค่ สื่อการศึกษาการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งแท้จริงแล้ว e-learning เป็นมากกว่าสื่อ จะถือได้ว่า e-learning นั้น คือ ระบบการเรียนรู้
ความหมายของการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning)
e เป็นอักษรย่อของคำว่า Electronics (อิเล็กทรอนิกส์) ซึ่งเมื่อรวมกับคำว่า Learning ที่แปลว่า การเรียนรู้ ก็จะได้ คำจำกัดความของ e-Learning คือ ระบบหรือกระบวนการเรียนรู้ หรือการเรียนการสอน ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ e-Learning จึงเป็นอีกหนทางหนึ่งของการศึกษาเรียนรู้ การพัฒนาบุคลากร โดยผ่านระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Study) ซึ่งผู้เรียนสามารถศึกษาความรู้ต่างๆจากแหล่งข้อมูล และทรัพยากรที่มีการจัดเตรียมไว้ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการนำเสนอที่น่าสนใจ โดย e-Learning จะช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนมีอิสระและความคล่องตัว ในการเลือกเรียนในเรื่องที่ตนสนใจ เวลา หรือสถานที่ในการศึกษา สามารถแลกเปลี่ยนแนวคิดระหว่างผู้เรียน หรือกับผู้สอน รวมทั้งยังช่วยลดปัญหาพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน เพียงแค่ผู้เรียนมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่สามารถต่อเข้า Internet ก็สามารถเรียนผ่านระบบ e-Learning ได้แล้ว
คำว่า e-Learning คือ กระบวนการจัดการศึกษา การเรียนรู้ในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ที่อาศัยสื่อ หรือระบบ หรือช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา สถานีโทรทัศน์กระจายเสียงเพื่อการศึกษา ไฟล์เสียง ไฟล์วิดีทัศน์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระบบ(สัญญาณ)ดาวเทียม(Satellite) ระบบ LAN และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม(ปัจจุบันมีน้อยมาก), การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น
จากการศึกษาในบทที่ผ่านมาคงจะจำไดอะแกรมข้างบนได้ e-learning หรือ electronic learning เป็นพัฒนาการทางการศึกษาที่ครอบคลุม กระบวนการเรียนรู้ทั้งการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ รวมถึงการเรียนด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
ดังนั้นคำว่า e-learning ก็คือ การเรียน การศึกษาที่ดำเนินการผ่านช่องทางสื่อ วิธีการ หรือข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท อาทิ สถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา สถานีโทรทัศน์กระจายเสียงเพื่อการศึกษา เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เครือข่าย และอุปกรณ์สื่อสารทุกประเภท กระบวนการดังกล่าวเป็นพัฒนาการที่ครอบคลุมการเรียนการสอนผ่านรายการวิทยุหรือสื่อเสียง ผ่านรายการโทรทัศน์หรือวิดีทัศน์ ผ่านระบบคอมพิวเตอร์รวมถึงการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย
แต่ในปัจจุบัน คำว่า e-learning คนส่วนใหญ่จะหมายถึงกระบวนการศึกษาเรียนรู้หรือการอบรม ผ่านเทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology) กระบวนการศึกษาเรียนรู้ จะมีองค์ประกอบในหลายๆด้านรวมกัน ได้แก่ กระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามมาตรฐานสากล ระบบจัดการเรียนการสอน (Learning Management System) ที่ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษารูปแบบ e-learning ซึ่งระบบการจัดการเรียนการสอน มีทั้งในรูปแบบ Online บนเว็บ และแบบ Offline จาก CD-ROM/DVD ที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆ ของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology)จากสภาพของเทคโนโลยีในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ e-learning มีความสามารถในการจัดสภาพแวดล้อม เงื่อนไขในการเรียนรู้เทียบเท่าการเรียนรู้แบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผนวกรวมกับแบบ Web-based Learning (Online learning) รวมกัน
หากมีผู้ถามว่า e-learning คืออะไร คงมีผู้อธิบายได้ในหลายความหมายหลายลักษณะ เพราะ e-learning เป็นระบบการจัดการศึกษาอีกระบบที่พึ่งพาเทคโนโลยีแขนงต่างๆที่ผ่านช่วงเวลาของการพัฒนาทำให้ความหมายของคำว่า e-learning มีการปรับเปลี่ยนไปตามสภาพและยุคของเทคโนโลยี เรามาศึกษาความหมายของสถาบันการศึกษา องค์กร และนักการศึกษาที่มีทรรศนะและให้นิยามความหมายของ e-learning กัน
Wikipedia : E-learning comprises all forms of electronically supported learning and teaching. The information and communication systems, whether networked learning or not, serve as specific media to implement the learning process.[1] The term will still most likely be utilized to reference out-of-classroom and in-classroom educational experiences via technology, even as advances continue in regard to devices and curriculum.
E-learning is essentially the computer and network-enabled transfer of skills and knowledge. E-learning applications and processes include Web-based learning, computer-based learning, virtual education opportunities and digital collaboration. Content is delivered via the Internet, intranet/extranet, audio or video tape, satellite TV, and CD-ROM. It can be self-paced or instructor-led and includes media in the form of text, image, animation, streaming video and audio.
Learningcircuits.org : classrooms, and digital collaboration. It includes the delivery of content via Internet, intranet/extranet (LAN/WAN), audio- and videotape, satellite broadcast, interactive TV, CD-ROM, and more."
Badrul H. Khan, interview, author of Web-based Training : "E-learning is an innovative approach for delivering electronically mediated, well-designed, learner-centered, and interactive learning environments to anyone, anyplace, anytime by utilizing the Internet and digital technologies in concert with instructional design principles."
Bank of America Securities : กล่าวว่า eLearning คือ การผสมผสานกันระหว่างการเรียนรู้และ internet (e-learning is the convergence of learning and the Internet)
Elliott Masie, The Masie Center : eLearning คือการ ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเครือข่าย เพื่อออกแบบ (บทเรียน รูปแบบการเรียน และอื่นๆ) สร้างสื่อ เลือกใช้ จัดการและขยายขีดความสามารถในการเรียนรู้
(e-learning is the use of network technology to design, deliver, select, administer, and extend LEARNING)
Robert Peterson, Piper Jaffray : องค์กรที่จัดการด้าน e-learning คือ ผู้ที่นำประโยชน์ของ internet กับเทคโนโลยีของ web มาใช้ในการจัดทำสร้างสื่อ และรองรับการเรียนรู้ไปจนชั่วชีวิต
(We definne e-learning companies as those that leverage various Internet and Web technologies to create, enable, deliver, and/or facilitate life-long learning)
Cornelia Weggen, WR Hambrecht & Co : eLearning คือ การส่งเนื้อหาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิค ทั้งมวลซึ่งหมายรวมถึง internet, intranet, extranet, ดาวเทียม, วิทยุโทรทัศน์, audio/vdo tape, interactive TV และ CD-ROM
Arista Knowledge Systems : eLearning คือการใช้พลานุภาพของเครือข่ายเพื่อให้การเรียนเกิดขึ้นได้ ในทุกเวลา ทุกสถานที่
e-Learning (electronic learning) will raise productivity of further education enormous. Internet and World Wide Web established as platform of electronic commerce. The number of Internet-User grows exponentially. Companies, training centres and private persons are using this platform also for operational qualification and benefit form our lernportal.at, the virtual university in the web, as well from your computer based learning modules.
The challenge on e-Learning market is growing higher, but asks for control of new processes. With e-Learning solutions we meet high standards of a virtual education, the challenge to fulfil the business object according to the latest technologies or the boost lever action for Corporate Knowledge in competition.
อ้างอิง : www.bitmedia.cc/en/elearning/default.ihtml
นอกจากนี้นักการศึกษาไทยในสถาบันการศึกษาต่างๆ ได้ให้ความหมายและคำจำกัดความของ คำว่า e-learning ไว้หลากหลายความหมาย อาทิ
ChulaOnline : ทางเลือกหนึ่งในปัจจุบันที่มีขึ้นเพื่อพัฒนาระบบการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ช่วยให้ผู้เรียน ซึ่งอยู่ในจุดที่ห่างไกลจากผู้สอนสามารถที่จะเรียนเนื้อหาวิชาหลักสูตรต่างๆได้อย่างไม่จำกัดสถานที่และเวลา
Thai2Learn : การศึกษาโดยใช้สื่อการเรียนผ่าน internet หรือ CD-ROM โดยมีระบบคอมพิวเตอร์รองรับ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถได้เรียนรู้ในสิ่งที่ต้องการและอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนในการเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา
iKnow : ระบบที่มีกระบวนการเรียนการสอนที่ใช้ Electronic อาจเป็นได้ทั้ง offline, online, server-based, web-based หรือเครื่องที่ใช้ไฟฟ้าทุกชนิด เช่น เครื่องวิทยุ, เทป, CD-ROM, TV, computer และแม้กระทั่งผ่านระบบดาวเทียม แต่ปัจจุบันเป็นที่เข้าใจว่า e-Learning หมายถึง การศึกษาระบบที่ใช้ Internet technology เป็นหลัก
Thailand Securities Institute (TSI): E เป็นอักษรย่อของคำว่า Electronics ซึ่งเมื่อรวมกับคำว่า Learningที่แปลว่า การเรียนรู้ ก็จะได้คำจำกัดความของ E-Learningคือ ระบบหรือกระบวนการเรียนรู้ หรือ การเรียนการสอน ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ CD-ROM, ระบบดาวเทียม ระบบ LAN และ Internet
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ : หมายถึง การเรียนรู้บนฐานเทคโนโลยี (Technology-based learning) ซึ่งครอบคลุมวิธีการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ อาทิ การเรียนรู้บนคอมพิวเตอร์ (computer-based learning) การเรียนรู้บน web (web-based learning) ห้องเรียนเสมือนจริง (virtual classrooms) และความร่วมมือดิจิทั่ล (digital collaboration) เป็นต้น ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท อาทิ อินเทอร์เน็ต (internet) อินทราเน็ต (intranet) เอ็กซ์ทราเน็ต (extranet) การถ่ายทอดผ่านดาวเทียม (satellite broadcast) แถบบันทึกเสียง และวิดีทัศน์ (audio/video tape) โทรทัศน์ที่สามารถโต้ตอบกัน
ได้ (interactive TV) และซีดีรอม (CD-ROM)
ดร.ไพฑูรย์ ศรีฟ้า (SriThai.com): E-Learning คือ การเรียนการสอนทางไกลที่ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่าน ทาง World Wide Web ซึ่งผู้เรียนและผู้สอนใช้เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ผู้เรียนสามารถ เข้าถึงแหล่งข้อมูลมากมายที่มีอยู่ทั่วโลกอย่างไร้ขอบเขตจำกัด ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมหรือแบบฝึกปฏิบัติต่างๆ แบบออนไลน์ โดยใช้เครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกอยู่ใน WWW เป็นการเรียนการสอนออนไลน์ ที่ได้รับความ นิยมอย่างมากในปัจจุบัน เพราะไม่มีขีดจำกัดเรื่องระยะทาง เวลา และสถานที่อีกทั้งยังสนองตอบต่อศักยภาพ และ ความสามารถของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
ดร.ชุณหพงศ์ ไทยอุปถัมภ์ : การนำเอาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยเข้ามาร่วมในการเรียนการสอน โดยผ่านทางอินเตอร์เน็ตและจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ซึ่งจะเน้นให้มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับสื่อ ผู้เรียนกับผู้สอน และผู้เรียนด้วยกันเป็นหลัก ทั้งยังส่งเสริม การเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นระบบการเรียนการสอนที่ยืดหยุ่น ผู้เรียนสามารถควบคุมจังหวะการเรียนรู้ด้วยตัวเองเพื่อประสิทธิภาพในการเรียนรู้
ผศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง : คำ E-Learning โดยทั่วๆไปจะครอบคลุมความหมายที่กว้างมาก กล่าวคือ จะหมายถึง การเรียนในลักษณะใดก็ได้ ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ก็ได้ ซึ่งเนื้อหาสารสนเทศ อาจอยู่ในรูปแบบการเรียนที่เราคุ้นเคยกันมาพอสมควร เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Assisted Instruction) การสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรืออาจอยู่ในลักษณะที่ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก เช่น การเรียนจากวิดีทัศน์ตามอัธยาศัย (Video On Demand) เป็นต้น อย่างไรก็ดีในปัจจุบันคนส่วนใหญ่เมื่อกล่าวถึง E-Learningจะหมายเฉพาะถึงการเรียนเนื้อหาหรือสารสนเทศ ซึ่งออกแบบมา สำหรับการสอนหรือการอบรม ซึ่งใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา และเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนจาก E-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ และ/หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ นอกจากนี้ เนื้อหาสารสนเทศของ E-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology)"
ลักษณะเฉพาะที่สำคัญ
ลักษณะเฉพาะซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นของ e-learning มีหลายประการ พอจะสรุป ได้ ดังนี้No Software Needed
ไม่ต้องใช้โปรแกรมหลักอื่นใด สื่อที่สร้างเพื่อ e-learning โดยแท้จริงนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของ CD-ROM หรือ DVD หรือสื่อ online ที่มีเนื้อหา พร้อมมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยการอธิบายเป็นขั้นเป็นตอนโดย animation หรือวิธีการ simulations มีข้อทดสอบหลากหลายรูปแบบ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทันที ที่นำ CD-ROM หรือ DVD เข้าใช้ หรือเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่าย internet
Interactive online computer training and learning
มีกลไกกระบวนการโต้ตอบตลอดเวลา ซึ่งโปรแกรมหรือ web document ที่แสดงขึ้นนั้นจะต้องใช้งานได้ง่าย การเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็ว มีระบบช่วยเหลือหรือคำแนะนำโดยตลอดการใช้งาน
Learn anywhere
สามารถเรียนรู้ได้ในทุกๆที่ ไม่ว่าผู้เรียนจะอยู่ ณ ที่ใดๆในโลก สามารถเข้าเรียนรู้ได้ต่อเนื่อง ได้ตลอดเวลา ที่ต้องการ โดยสามารถใช้ผ่านระบบเครือข่ายในทุกๆที่ได้ทันที ทั้งในรูปแบบเรียนรู้โดยทั่วไป และในแบบส่วนบุคคล ที่ต้องแจ้งชื่อ และยืนยันสิทธิผู้ใช้ด้วยการใส่รหัสผ่าน
Learning center
เป็นรูปแบบการศึกษาที่มีลักษณะ เน้นผู้เรียนเป็น ศุนย์กลาง การเรียนรู้เกิดขึ้นกับผู้เรียนโดยตรง
You control the page
สามารถควบคุมเนื้อหาในหน้าที่เรียนรู้ได้ด้วยตนเองผู้เรียนมีสิทธ์ที่จะเลือกศึกษา ส่วนหนึ่งส่วนใดของแต่ละเนื้อหา ได้อย่างอิสระ สามารถควบคุมหน้าเนื้อหา การเข้าถึงในแต่ละส่วนได้ทันทีที่ต้องการ โดยไม่มีเงื่อนไข
Learn anytime
เรียนรู้ได้ทุกเวลาตามที่ต้องการไม่ว่าผู้เรียนจะมีช่วงเวลาว่างในเวลาไหน สามารถที่จะเข้าถึงองค์ความรู้ หรือแหล่งเรียนรู้ตามความต้องการได้ในทุกเวลาแม้จะมีช่วงเวลาอันจำกัดก็ตาม หรืออาจกล่าวได้ว่า ท่านสามารถ ที่จะเรียนรู้ได้ตลอดเวลานั่นเอง anytime 24 hours a day, 7 days a week, (for one full year) ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถทบทวนเนื้อหา บทเรียน ได้ตลอดเวลาที่ต้องการ
Certificates
หากระบบ e-learning ของท่านมีการประเมินผลความรู้ในเนื้อหาของบทเรียน พึงออกแบบให้ผู้เรียนสามารถ ผ่านการประเมินได้ไม่น้อยกว่า 70% หากจะออกแบบเพื่อมอบใบรับรอง เพื่อแสดงผลของ"certificate of completion"ก็นับเป็นสิ่งที่ดี
Value
การให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมและมองเห็นถึงคุณค่าในบทเรียนด้วยวิธีการต่างๆไม่ว่าจะเป็นการสั่งจอง หรือสั่งซื้อสื่ออื่นที่ท่านโฆษณาในหน้าเอกสาร web นอกจากจะเป็นส่วนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกับการเรียนรู้แล้วยังเป็นส่วนที่จะนำรายได้นำมาพัฒนาและบริหาร web ได้อีกทางหนึ่งด้วย
Anywhere, Anytime
ควรขยายโอกาสในการเข้าถึงเนื้อหาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้จริง ในที่นี้หมายรวมถึง การที่ผู้เรียนสามารถเรียกดูเนื้อหา ตามความสะดวกของผู้เรียน ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศไทย ควรมีการใช้เทคโนโลยีการนำเสนอเนื้อหาที่สามารถเรียกดูได้ทั้งขณะที่ออนไลน์ (เครื่องมีการต่อเชื่อมกับเครือข่าย) และในขณะที่ออฟไลน์ (เครื่องไม่มีการต่อเชื่อมกับเครือข่าย)
Multimedia
สิ่งสำคัญ ในการนำเสนอเนื้อหา ควรพิจารณาใช้รูปแบบเทคนิคของสื่อต่างๆ ตามความเหมาะสม เพื่อตึงพฤติกรรมผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ ที่ยาวนาน
Social Communication
แสดงทรรศนะ ความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้วยเครื่องมือ ช่องทางบนเครื่อข่ายได้ตลอดเวลา
Social Knowledge
การร่วมแสดงความคิดเห็น ทำให้เกิดชุมชนการเรียนรู้ เป็นกลไกสำคัญในการต่อยอดความคิดทางความรู้
Equal Education
ลดช่องว่างของการศึกษาระหว่างสังคมเมือง และสังคมชนบท เป็นการสร้างความเท่าเทียมนำไปสู่การขยายโอกาสทางการศึกษา
Non-linear
บทเรียน e-learning ควรต้องมีการนำเสนอเนื้อหาในลักษณะที่ไม่เป็นเชิงเส้นตรง กล่าวคือ ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาตามความต้องการ โดย e-Learning จะต้องจัดหาการเชื่อมโยงที่ยืดหยุ่นแก่ผู้เรียน
Interaction
บทเรียน e-learning ควรต้องมีการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนโต้ตอบ (มีปฏิสัมพันธ์) กับเนื้อหา หรือ กับผู้อื่นได้ กล่าวคือ
- e-learning ควรต้องมีการออกแบบกิจกรรมซึ่งผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับเนื้อหา รวมทั้ง มีการจัดเตรียม แบบฝึกหัดและ แบบทดสอบให้ผู้เรียนสามารถตรวจสอบความเข้าใจด้วยตนเองได้
- e-learning ควรต้องมีการจัดหาเครื่องมือในการให้ช่องทางแก่ผู้เรียนในการติดต่อสื่อสารเพื่อการปรึกษา อภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็นกับกับผู้สอน วิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ หรือ เพื่อนๆ ร่วมชั้นเรียน
บทเรียน e-learning ที่ดี ควรต้องมีการออกแบบให้มีการทดสอบ การวัดผล รวมถึงกระบวนการการประเมินผล ที่ให้ ผลย้อนกลับทันทีแก่ผู้เรียน ไม่ว่าจะอยู่ในลักษณะของแบบทดสอบก่อนเรียน (pre-test) หรือ แบบทดสอบหลังเรียน (post-test) ก็ตาม
หากจะสรุปความหมายของ e-learning ก็จะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
1. e-learning
คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผ่านเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผ่านเทคโนโลยีการสื่อสาร หรือผ่านสื่ออิเลคทรอนิกส์ทุกประเภท ในการถ่ายทอดสาระ เนื้อหา ในลักษณะผสมผสาน ที่มีความเป็นมัลติมีเดีย(ข้อความ ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวหรือ อื่นๆ) ผู้เรียนสามารถควมคุม กระบวนการเรียนรู้ ได้ด้วยตนเอง
2. e-learning
คือ วิธีการจัดการเรียนรู้ภายใต้ระบบมาตรฐานสากล ที่นำมากำกับ และบริหารกระบวนการจัดการเรียนรู้ผ่านช่องทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
คำว่า e-Learning นั้นมีคำที่ใช้ได้ใกล้เคียงกันอยู่หลายคำเช่น Distance Learning (การเรียนทางไกล) Computer based training (การฝึกอบรมโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือเรียกย่อๆว่า CBT) online learning (การเรียนทางอินเทอร์เน็ต) เป็นต้น ดังนั้น สรุปได้ว่า ความหมายของ e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่อ หรือเครื่องมือ หรือวิธีทางอิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ 1 สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบเชิงโต้ตอบได้
แม้ว่าในปัจจุบันการพัฒนา e-learning จะมีอยู่หลากหลายแนวทาง หลายรูปแบบ และหลายทฤษฎีจากนักการศึกษา ทั่วโลก สถานศึกษาหลายสถานศึกษาได้จัดการศึกษา e-learning ด้วยเทคโนโลยีเว็บในลักษณะต่างๆ ที่มีให้ใช้ ทั้งในแบบภาษา Html ที่ต้องเขียนหรือสร้างจากโปรแกรมเขียนเว็บด้วยตนเอง หรือจากแม่แบบสำเร็จรูป ที่มีให้เลือกใช้ หรือพัฒนาระบบขึ้นใหม่ ซึ่งสถาบันการศึกษาในประเทศไทยเองหลายสถาบัน ก็ได้คิดค้นพัฒนารูปแบบของ e-learning เป็นการเฉพาะและเหมาะสมต่อการจัดการศึกษาของสถาบันนั้นๆ เช่น
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
องค์ประกอบและการพัฒนา
ในการพัฒนา e-learning อย่างมีคุณภาพผู้พัฒนาควรยึดหลัก ดังต่อไปนี้
- ต้องให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และเป็นผู้ควบคุมวิธีการเรียนรู้เนื้อหาได้ด้วยตนเอง
- ต้องมีกระบวนการที่พร้อมสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ได้
- ผู้สอนต้องสามารถบริหารและจัดการกระบวนการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
- ต้องมีวิธีการถ่ายทอดการเรียนรู้อย่างเรียบง่ายแต่มีระบบที่ดี
- บทเรียนต้องมีลักษณะเสมือนเป็นข้อมูล ไม่ควรออกแบบบทเรียนให้เหมือนกับเอกสาร
- ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยและแก้ไขหากพบว่ามีจุดบกพร่อง
- เนื้อหาของบทเรียนต้องมีคุณค่า คุ้มค่าต่อการเข้ามาศึกษาและเรียนรู้
- บทเรียนที่ดีควรมาจากมวลประสบการณ์ของผู้รู้ที่ผ่านการใช้หรือปฎิบัติมาแล้ว
- อย่าสร้างบทเรียนจากตำราเรียนแต่เพียงอย่างเดียว ควรสร้างบทเรียนที่เอื้อต่อการพัฒนาในชีวิตและสังคม
- บทเรียนที่ดีต้องมีการพัฒนาปรับปรุงอยู่เสมอ ด้วยการรับฟังคำแนะนำ นำมาวิเคราะห์เพื่อให้บทเรียนมีมาตรฐาน การเรียนรู้ที่ดีต่อไป
นอกจากนี้ ผศ.ดร.ถนอมพร (ตันพิพัฒน์) เลาหจรัสแสง กล่าวถึงลักษณะสำคัญของ E-Learning ที่ดีประกอบไปด้วยลักษณะสำคัญ ไว้ใน หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน ดังนี้
1. Anywhere, Anytime
หมายถึง e-learning ควรต้องช่วยขยายโอกาสในการเข้าถึงเนื้อหาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้จริง ในที่นี้หมายรวมถึงการที่ผู้เรียนสามารถเรียกดูเนื้อหาตามความสะดวกของผู้เรียน ยกตัวอย่าง เช่น ในประเทศไทย ควรมีการใช้เทคโนโลยีการนำเสนอเนื้อหาที่สามารถเรียกดูได้ทั้งขณะที่ออนไลน์ (เครื่องมีการต่อเชื่อมกับเครือข่าย) และในขณะที่ออฟไลน์ (เครื่องไม่มีการต่อเชื่อมกับเครือข่าย)
2. Multimedia
หมายถึง e-learning ควรต้องมีการนำเสนอเนื้อหาโดย ใช้ประโยชน์จากสื่อประสมเพื่อช่วยในการประมวลผลสารสนเทศ ของผู้เรียนเพื่อให้เกิดความคงทนในการเรียนรู้ได้ดีขึ้น
3. Non-linear
หมายถึง e-learning ควรต้องมีการนำเสนอเนื้อหาในลักษณะที่ไม่เป็นเชิงเส้นตรง กล่าวคือ ผู้เรียน สามารถเข้าถึงเนื้อหาตามความต้องการโดย e-learning จะต้องจัดหาการเชื่อมโยงที่ยืดหยุ่นแก่ผู้เรียน
4. Interaction
หมายถึง e-learning ควรต้องมีการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนโต้ตอบ (มีปฏิสัมพันธ์) กับเนื้อหาหรือกับผู้อื่นได้ กล่าวคือ
e-learning ควรต้องมีการออกแบบกิจกรรมซึ่งผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับเนื้อหา รวมทั้งมีการจัดเตรียมแบบฝึกหัด และแบบทดสอบให้ผู้เรียนสามารถตรวจสอบความเข้าใจด้วยตนเองได้
e-learning ควรต้องมีการจัดหาเครื่องมือในการให้ช่องทางแก่ผู้เรียนในการติดต่อสื่อสารเพื่อการปรึกษา อภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็นกับผู้สอน วิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ หรือเพื่อน ๆ
5. Immediate Response
หมายถึง e-learning ควรต้องมีการออกแบบให้มีการทดสอบ การวัดผลและการประเมินผล ซึ่งให้ผลป้อนกลับโดยทันทีแก่ผู้เรียนไม่ว่าจะอยู่ในลักษณะของแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) หรือแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เป็นต้น
ประเภทของ e-learning
จากการที่ได้ศึกษามาในเบื้องต้นแล้วว่า e-learning เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านพัฒนาการทางเทคโนโลยีมาหลากหลายช่วง แม้ว่าจะอยู่ภายใต้กระบวนการหลักๆเดียวกัน แต่ก็มีข้อแตกต่างอันเป็นองค์ประกอบในการขับเคลื่อนที่แตกต่างกัน ในส่วนประเภทของ e-learning ก็เช่นกัน มีผู้แบ่งประเภทไว้หลากหลายทั้งแบ่งไปตามวิธีการ บ้างก็แบ่งไปตามประเภทของตัวสื่อการเรียน แต่ในที่นี้ จะแบ่งไปตามกลุ่มรูปแบบการขับเคลื่อน ซึ่งปัจจุบัน มี 3 กลุ่ม หลักๆคือ
- แบบ Traditional Learning รูปแบบนี้เป็นรูปแบบการเรียนรู้ในชั้นเรียนดังเดิม ที่มีการใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนสนับสนุนการเรียนการสอน เป็นการใช้ e-learning ในยุคแรกๆ อาทิ การใช้วิดีทัศน์ การใช้เทปเสียง การใช้โทรทัศน์เพื่อการศึกษา การใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(นำเข้าสู่บทเรียน) เป็นต้น ในรูปแบบนี้ ผุ้เรียนจะอยู่ในสภาพผู้รับเนื้อหา โดยมีครูเป็นผู้ป้อนเนื้อหา
- แบบ Synchronous E-Learning ผู้เรียนและครูผู้สอนอยู่ในเวลาเดียวกัน ผู้เรียนต้องมาเรียนพร้อมกัน เป็นการเรียนแบบ ณ เวลาจริง ที่เรียกว่า real-time เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เช่น การสอนในชั้นเรียนปกติ แต่มีการถ่ายทอดไปยังห้องอื่นๆ หรือไปยังสถานศึกษาอื่นๆ ในเวลาเดียวกัน ผู้เรียนสามารถติดต่อ ซักถามครูผู้สอนผ่านช่องทางการสื่อสารออนไลน์ เช่น ส่วนให้บริการสนทนาหรือที่เรียกว่า Chart หรือกระดานข่าวสาร(Web-board) โต้ตอบกัน ณ. เวลาจริง หรือโปรแกรมที่สามารถส่งข้อความ หรือเสียง หรือภาพ หรือภาพเคลื่อนไหว ที่เห็นได้ชัดก็คือโปรแกรมในกลุ่ม Messenger ต่างๆ
- แบบ Asynchronous E-Learning ผู้เรียนและครูผู้สอนไม่ได้อยู่ในเวลาเดียวกันไม่มีปฏิสัมพันธ์แบบ real-time แต่ยังคงเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยมีลักษณะส่งเสริมการเรียนด้วยตนเอง ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไปสู่เว็บไซต์ของหลักสูตรเพื่อศึกษาเรียนรู้ หรือทำกิจกรรม ทำแบบฝึกหัดและสอบ มีส่วนสนับสนุนการติดต่อสื่อสาร เพื่อสนทนากับเพื่อร่วมชั้น มีเว็บบอร์ดและอีเมล์ให้ถาม คำถามถึงผู้สอน ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้จากแหล่งอื่นเพิ่มเติมตามที่ต้องการ
ระดับคุณภาพของ e-learning
- Text Onlineเน้นที่ข้อความเป็นหลัก (ซึ่งการพัฒนา e-learning ประเภทนี้ต้องระวังถึงช่วงอายุของผู้เรียนรู้ด้วย)
- Low Cost Interactive Online Courseเป็นรูปแบบของบทเรียนที่มีความพร้อมในการเรียนรู้ที่ดี ประกอบด้วยหน้าเอกสารเว็บ(ข้อความ ภาพ และสื่อประกอบอื่น อาทิ เสียง วิดีทัศน์ ที่ถูกเชื่อมโยงในลักษณะ links มีระบบการโต้ตอบกับผู้เรียนง่ายๆอาทิ links ไปยังตำแหน่งปลายทาง หรือการควบคุม Animation แบบง่าย อาทิ เดินหน้า หรือ หยุด หรือการตอบคำถาม เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนแบบเป็นลำดับ) รูปแบบนี้มักจะไม่ใช้ Web Programming ไม่มีระบบฐานข้อมูล ไม่มีระบบสมาชิกผู้เรียน
- High Quality Online Courseลักษณะของสาระเนื้อหาจะประกอบด้วยมัลติมีเดียโดยสมบูรณ์ มีภาพ เสียง วิดีทัศน์ หรือเป็นกระบวนการ Interactive ที่ให้ผู้เรียนเลือก และตัดสินใจได้อย่างอิสระ มี Web programing ในการบริหารจัดการหลักสูตร จัดการชั้นเรียน จัดการสมาชิก การทดสอบประเมินผล การติดตามผู้เรียน
วิธีการเรียนรู้
e-Learning เป็นระบบและวิธีการที่สนองต่อการเรียนรู้ทั้งเป็นระบบ(สื่อ)หลัก ระบบ(สื่อ)เสริม และระบบ(สื่อ)สนับสนุน
e-Learning เป็นลักษณะระบบและสื่อการเรียนรู้บนฐานของเครื่องมือ วิธีการทางอิเล็กทรนิกส์ที่หลากหลาย ดังนั้นการเรียนรู้บางสถานะหรือบางรูปแบบก็สามารถขับเคลื่อนการศึกษาเรียนรู้ได้ตัวมันเอง เช่น Web-Based Learning แต่บางรายการเป็นเพียงสื่อที่ต้องมีองค์ประกอบร่วม
e-learning บางลักษณะสนองต่อการเรียนรู้แบบ Any-time Any Where เช่นไฟล์ข้อมูลเสียง ไฟล์ข้อมูลวิดีทัศน์ Web-Based Learning
e-learning บางลักษณะต้องเรียนรู้ตามกรอบเวลา เช่น รายการจากสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา หรือรายการจากสถานีโทรทัศน์กระจายเสียงเพื่อการศึกษา
e-Learning เป็นลักษณะระบบและสื่อการเรียนรู้บนฐานของเครื่องมือ วิธีการทางอิเล็กทรนิกส์ที่หลากหลาย ดังนั้นการเรียนรู้บางสถานะหรือบางรูปแบบก็สามารถขับเคลื่อนการศึกษาเรียนรู้ได้ตัวมันเอง เช่น Web-Based Learning แต่บางรายการเป็นเพียงสื่อที่ต้องมีองค์ประกอบร่วม
e-learning บางลักษณะสนองต่อการเรียนรู้แบบ Any-time Any Where เช่นไฟล์ข้อมูลเสียง ไฟล์ข้อมูลวิดีทัศน์ Web-Based Learning
e-learning บางลักษณะต้องเรียนรู้ตามกรอบเวลา เช่น รายการจากสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา หรือรายการจากสถานีโทรทัศน์กระจายเสียงเพื่อการศึกษา
บทสรุป
จากสภาพการจัดการศึกษาปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นในระบบสถานศึกษา หรือนอกระบบ โดยเฉพาะการศึกษาตามอัธยาศัย เทคโนโลยีเครือข่ายเป็นช่องทางสำคัญอีกช่องทางในการจัดการศึกษา เพราะการศึกษารูปแบบ e-learning เป็นการศึกษาที่ทุกคนมีสิทธิืเข้าถึงได้ตามศักยภาพ มีมาตรรฐานต่อการเรียนรู้ที่เท่าเทียมกัน ไม่ยึดติดที่ปริมาณเนื้อหา หรือกรอบเวลา หรือช่วงเวลาในการเรียนรู้
ความร่วมมือในการพัฒนาและขับเคลื่อนการจัดการศึกษาแบบ e-learning เพื่อให้เป็นอีกช่องทางเลือกในการเรียนรู้ ในการทบทวนเนื้อหา ในการศึกษาเพิ่มเติม แต่การขับเคลื่อนในการจัดที่ดี ต้องขับเคลื่อนไปทั้งองค์กร ซึ่งจะทำให้ระบบการจัด มีพลัง มีสินค้าที่มากพอต่อการที่ผู้เรียนเข้ามาเลือกสาระในการเรียนรู้
การเริ่มต้นในการจัดการศึกษารูปแบบ e-learning ในสถานศึกษาเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากในการขับเคลื่อน จึงพบว่า ในแต่ละสถานศึกษาจะมีการขับเคลื่อนไปอย่างช้าๆ โดยคนในองค์กรเพียงไม่กี่คน บางสถานศึกษาผู้ขับเคลื่อนก็ท้อแท้ไรัพลังในการขับเคลื่อน ทำให้นำไปสู่การหยุด และ ล้มเลิกไปในที่สุด แต่หากผู้บริหาร และมีนโยบายหรือยุทธศาสตร์มากำกับ ก็จะเป็นส่วนกระตุ้นให้ e-learning สามารถขยับ ขับเคลื่อนไปได้ ที่สำคัญต้องมาจากความตั้งใจ ความจริงจังของผู้คนในองค์กร
ปัจจุบันแนวทางของ e-learning ไม่ใช่เรื่องยาก หากสถานศึกษาจะเริ่มต้น
- เริ่มที่สร้างความตะหนัก และความเข้าใจ และความจำเป็น
- เรียนรู้หลักการของ e-learning
- เริ่มต้นการจัดด้วยรูปแบบ e-learning พื้นฐาน อาทิ จากบทเรียน เอกสารการสอน หรือ ข้อมูลในเอกสาร Word หรือ PDF หรือไฟล์นำเสนอ PowerPoint นำเข้าสู่ระบบ LMS ของสถานศึกษาหรือ Weblog (บล็อก) ของตนเองฝสถานศึกษา
- Web Copy แสวงหา หยิบยืม มวลความรู้บนอินเทอร์เน็ต นำมาปรับและจัดหน้าการเรียนรู้แบบ Web Offline
- Direct Links นำเสนอเพิ่มเติมด้วย links เชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บความรู้
- Web Resources รวมแหล่งเรียนรู้เนื้อหาในลักษณะ Portal Web
- Web Based Instruction สร้างขึ้นด้วยสองมือเราเอง
- การศึกษาต้องไม่ยึดติดกับรูปแบบเดียว ควรนำส่วนดีของรูปแบบการศึกษาอื่นๆ นำมาใช้ เน้นการเรียนแบบ Active Learning
- ปรับเปลี่ยนจากการเน้นการสอน มาเป็นเน้นการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ หรือร่วมกันสร้างองค์ความรู้
- เน้นการเรียนแบบเป็นกลุ่ม เพื่อให้เกิดการ่วมมือ(Collaboration) มีปฏิสัมพันธ์(interactive) ร่วมกันทั้งสองทาง มีทักษะการสื่อสารร่วมกัน โดยครูเปลี่ยนบทบาทเป็น Facilitator
- ประยุกต์ใช้ e-learning ให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการศึกษา เพื่อให้ e-learning เป็นช่องทางไปสู่มวลของความรู้ในโลกกว้าง เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนเป็นผู้แสวงหาความรู้ ไม่ใช่ผู้รับความรู้
- การวัดผลการเรียนรู้ ควรวัดผลในรูปของแฟ้มสะสมผลงาน วัดความสามารถของความรู้ และพัฒนาการที่เพิ่มขึ้น
update : 13 June 2021
ไม่มีความคิดเห็น
Do not recommend gambling sites of any kind. If violated, will be prosecuted according to the law.
ขอบคุณที่ได้ให้ความสนใจบทความ ใน mediathailand network ครับ