การศึกษาในระบบ
การศึกษา (Education) ในมาตรา 4
ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 นิยาม ความหมายของการศึกษา
มีความหมายว่า
"กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้
การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรมการสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ
การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้
และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต" และมาตรา 15
ได้กำหนดระบบการศึกษา ในการจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ
การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
ความหมายของการศึกษาในระบบ
การศึกษาในระบบ (Formal Education)
คือ การศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
การศึกษาในระบบ (Formal Education) คือ การศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน ที่สำคัญ ในการดำเนินกิจกรรมทางการศึกษานั้น เกิดขึ้นทั้งที่ห้องเรียน รวมถึงการเรียนรู้นอกห้องเรียน อาทิ ที่บ้าน หรือการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยยึดถือเอาห้องเรียนเป็นฐานกลางของการจัดการศึกษา การศึกษาจึงเป็นกระบวนการที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาคน และการที่จะพัฒนาคนให้มีคุณภาพตรงตามความต้องการนั้นต้องอาศัยผลรวมของกระบวนการที่มีความ สัมพันธ์กัน คือ กระบวนการบริหารจัดการ กระบวนการจัดการเรียนรู้ รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
การศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่า 12 ปีก่อนระดับอุดมศึกษา การแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจัดแบ่งไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง มี 3 ระดับคือ
การศึกษาระดับอุดมศึกษา
เป็นการศึกษาหลังระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มุ่งพัฒนาความเจริญงอกงามทางสติปัญญาและความคิด เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ การศึกษาระดับนี้จัดแบบกว้างให้ผู้เรียนมีความรู้รอบ และเน้นเฉพาะสาขาวิชาชีพให้ผู้เรียนมีความรู้สึกและชำนิชำนาญทั้งในด้านทฤษฎี ปฏิบัติและมีจรรยา บรรณของวิชาชีพนั้น ๆ หน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษาจึงมุ่งดำเนินการเรียนการสอนทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ การวิจัยเพื่อแสวงหาข้อมูล ความรู้ใหม่ และพิสูจน์หลักทฤษฎีต่าง ๆ การบริการชุมชน และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาประเทศทุกด้าน และช่วยแก้ปัญหาของชุมชน การศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็นสองระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญา ซึ่งจะครอบคลุมถึงการศึกษา ในระดับประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญา ที่เรียนภายหลังที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐานมาแล้ว เป็นการให้ความสำคัญแก่การศึกษาระดับนี้ ที่ถือกันว่าเป็นกำลังคนระดับกลางและพื้นฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจ
วัตถุประสงค์ของการศึกษาในระบบ
เป้าหมายของการจัดการศึกษาในระบบ
องค์ประกอบของการจัดการศึกษาในระบบ
องค์ประกอบของการจัดการศึกษา มีดังต่อไปนี้
วิเคราะห์ปัญหาการศึกษาที่เกิดจากการจัดการศึกษาในระบบ
วิเคราะห์ปัญหาการศึกษาที่เกิดจากการจัดการศึกษาในระบบ ของสำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยได้เก็บข้อมูลจากผู้จัดการศึกษาทางเลือก 50 กลุ่ม เขตภาคกลาง ได้พบว่าปัญหา การศึกษา ในปัจจุบันมีดังนี้
สรุป
การศึกษาในระบบ (Formal Education) เป็นการศึกษาที่มีรูปแบบและระบบแบบแผนชัดเจน มีการกำหนดวัตถุประสงค์ หลักสูตรวิธีการจัดการเรียนการสอน การวัดผล และการประเมินผลที่แน่นอน ซึ่งการศึกษาในระบบของไทยประกอบไปด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาในขั้นอุดมศึกษา โดยการศึกษาขั้นพื้นฐาน ถูกแบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ยังถูกแบ่งเป็นประเภทสามัญศึกษาและประเภทอาชีวศึกษาอีกด้วย สำหรับในการศึกษาขั้นอุดมศึกษานั้น แบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆคือ ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโทและปริญญาเอก
ความหมายของการศึกษาในระบบ
การศึกษาในระบบ (Formal Education)
คือ การศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
การศึกษาในระบบ (Formal Education) คือ การศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน ที่สำคัญ ในการดำเนินกิจกรรมทางการศึกษานั้น เกิดขึ้นทั้งที่ห้องเรียน รวมถึงการเรียนรู้นอกห้องเรียน อาทิ ที่บ้าน หรือการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยยึดถือเอาห้องเรียนเป็นฐานกลางของการจัดการศึกษา การศึกษาจึงเป็นกระบวนการที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาคน และการที่จะพัฒนาคนให้มีคุณภาพตรงตามความต้องการนั้นต้องอาศัยผลรวมของกระบวนการที่มีความ สัมพันธ์กัน คือ กระบวนการบริหารจัดการ กระบวนการจัดการเรียนรู้ รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
การศึกษาในระบบ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษา
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
การศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่า 12 ปีก่อนระดับอุดมศึกษา การแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจัดแบ่งไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง มี 3 ระดับคือ
- การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา เป็นการศึกษาที่มุ่งอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนการศึกษาภาคบังคับ เพื่อเตรียมเด็กให้มีความพร้อมทุกด้านดีพอที่จะเข้ารับการศึกษาต่อไป การจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษานี้อาจจัดเป็นสถานรับเลี้ยงดูเด็ก ศูนย์เด็กปฐมวัยโรงเรียนอนุบาล หรือจัดเป็นชั้นเด็กเล็กในโรงเรียนประถมศึกษา
- การศึกษาระดับประถมศึกษา เป็นการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถขั้นพื้นฐานและให้สามารถคงสภาพอ่านออกเขียนได้ คิดคำนวณ ได้มีความสามารถประกอบอาชีพตามควรแก่วัยและความสามารถ ดำรงตนเป็นพลเมืองดีในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การจัดสถานศึกษาระดับประถมศึกษา พึงจัดเป็นตอนเดียวตลอดใช้เวลาเรียนประมาณ 6 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา เป็นการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งแต่ละท้องถิ่นจะกำหนดอายุเข้าเกณฑ์ ให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น และความพร้อมของเด็ก แต่ต้องไม่บังคับเด็ก เข้าเรียนก่อนอายุครบ 6 ปี บริบูรณ์ และไม่ช้ากว่าอายุครบ 8 ปี บริบูรณ์
- การศึกษาระดับมัธยมศึกษา เป็นการศึกษาที่ต่อจากระดับประถมศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ทั้งวิชาการและวิชาชีพที่เหมาะสมกับวัย ความต้องการ ความสนใจ และความถนัด เพื่อให้บุคคลเข้าใจและรู้จักเลือกอาชีพที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคม การศึกษาระดับนี้แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้เวลาเรียนตอนละประมาณ 3 ปี นับว่าเป็นการศึกษาระดับกลาง ซึ่งจัดขึ้นสำหรับเด็กวัยรุ่นอายุประมาณ 12 - 17 ปี ให้ได้เรียนหลังจากจบประถมศึกษาและเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาระดับสูงขึ้นไป ผู้ที่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษา อาจจะออกไป ประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับวัยและความสามารถ หรือศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ดังนั้นในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนกลุ่มวิชาการ วิชาชีพตามความถนัด และความสนใจ ส่วนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พึงให้ผู้เรียนได้เน้นการเรียนกลุ่มวิชาที่ผู้เรียนจะยึดเป็นอาชีพต่อไป
การศึกษาระดับอุดมศึกษา
เป็นการศึกษาหลังระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มุ่งพัฒนาความเจริญงอกงามทางสติปัญญาและความคิด เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ การศึกษาระดับนี้จัดแบบกว้างให้ผู้เรียนมีความรู้รอบ และเน้นเฉพาะสาขาวิชาชีพให้ผู้เรียนมีความรู้สึกและชำนิชำนาญทั้งในด้านทฤษฎี ปฏิบัติและมีจรรยา บรรณของวิชาชีพนั้น ๆ หน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษาจึงมุ่งดำเนินการเรียนการสอนทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ การวิจัยเพื่อแสวงหาข้อมูล ความรู้ใหม่ และพิสูจน์หลักทฤษฎีต่าง ๆ การบริการชุมชน และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาประเทศทุกด้าน และช่วยแก้ปัญหาของชุมชน การศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็นสองระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญา ซึ่งจะครอบคลุมถึงการศึกษา ในระดับประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญา ที่เรียนภายหลังที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐานมาแล้ว เป็นการให้ความสำคัญแก่การศึกษาระดับนี้ ที่ถือกันว่าเป็นกำลังคนระดับกลางและพื้นฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจ
- ถ่ายทอดหรือปลูกฝัง เนื้อหา ความรู้ ความเข้าใจที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้ได้รับการศึกษาวางตัวได้เหมาะสมในสังคม และมีความสามารถประกอบอาชีพตามความถนัด ความสนใจ หรือตามโอกาสของแต่ละบุคคล
- เตรียมเด็กก่อนวัยเรียน ให้มีความพร้อมในการเรียนรู้และจัดให้เด็กในวัยเรียน ได้รับการศึกษาเพื่อเรียนรู้ และพัฒนาตนเองต่อเนื่องเพื่อให้มีพัฒนาการทั้งทางร่างกาย เชาวน์ปัญญา ความสนใจที่เหมาะสมมีความพร้อมในการศึกษาระดับสูงขึ้นไป
- เพื่อพัฒนาเด็กในวัยเรียนทุกระดับให้ได้รับการศึกษา เพื่อประโยชน์สำหรับการเตรียมตัวระดับพื้นฐาน และเพื่อมีความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพการงานต่อไป
- ตอบสนองความต้องการทางการศึกษาระดับสูงในเชิงคุณภาพ มุ่งส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสได้พัฒนาความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพ ซึ่งอาจดำเนินการโดยสถาบันอุดมศึกษา ที่เน้นการวิเคราะห์ วิจัยระดับสูง มุ่งคิดค้นเนื้อหาสาระที่แปลกใหม่จากเดิม นอกจากนี้ยังรวมถึงการฝึกอบรมเฉพาะทางเช่น ด้านการเกษตร การอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นต้น
- พัฒนาศักยภาพของบุคคลเต็มความสามารถและตอบสนองวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศ เน้นพัฒนากลุ่มเป้าหมายในลักษณะบูรณาการ คือ มีความสมบูรณ์ครบถ้วนทุกด้าน ทั้งทางร่างกาย สติปัญญาคุณธรรม ความคิด ความสำนึก ความรับผิดชอบ ฯลฯ ซึ่งตามปกติเป็นหน้าที่ของสถานศึกษา และอาจจัดเสริมเติมในลักษณะฝึกอบรมเฉพาะหรือแทรกในกิจกรรมการเรียนการสอนปกติ
เป้าหมายของการจัดการศึกษาในระบบ
- เด็กก่อนวัยเรียน
เป็นการจัดกิจกรรมในลักษณะการเตรียมความพร้อมเพื่อส่งเสริมทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ได้แก่ กิจกรรมการเคลื่อนไหวตามจังหวะ กิจกรรมสร้างสรรค์กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมเกมการศึกษาเป็นต้น - บุคคลในวัยเรียน
เป็นการจัดการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมาย ดังต่อไปนี้
2.1) การศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งได้แก่ การจัดการศึกษาในระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น มักใช้เวลาประมาณสิบสองปี เป็นส่วนใหญ่ ในช่วงปลายของการศึกษาเยาวชนที่สนใจสายอาชีพ แทนที่จะศึกษาสายสามัญ ก็อาจเลือกเข้าเรียนในสถานศึกษา สายอาชีพได้ ซึ่งได้แก่ โรงเรียนอาชีวศึกษา ประเภทต่าง ๆ
2.2) การศึกษาระดับอุดมศึกษา เมื่อสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้เรียนที่มุ่งศึกษาต่อก็อาจเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งรวมสถาบันอุดมศึกษาสายอาชีพต่ำกว่าปริญญาด้วย
องค์ประกอบของการจัดการศึกษาในระบบ
องค์ประกอบของการจัดการศึกษา มีดังต่อไปนี้
- สาระเนื้อหาในการศึกษา
การจัดการศึกษาในระบบ จะจัดทำหลักสูตรเป็นตัวกำหนดเนื้อหาสาระหลักสูตรในหลักสูตรกลางแต่ละระดับ ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถจัดเนื้อหาสาระที่เหมาะสมกับท้องถิ่นได้ด้วย โดยมีเนื้อหาสาระที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา ทั้งนี้ต้องทบทวนเนื้อหาสาระ เพื่อปรับแก้ไขให้ถูกต้องทันสมัย และให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้เรียน
- ครู ครูผู้สอน หรือผู้ให้การเรียนรู้ ผู้ถ่ายทอดเนื้อหาสาระ
ได้แก่ ครู และอาจารย์ ซึ่งถือเป็นผู้ประกอบอาชีพชั้นสูง บุคคลเหล่านี้ต้องได้รับการอบรมทั้งในด้านเนื้อหา และวิธีการถ่ายทอด เพื่อให้สามารถถ่ายทอดความรู้ และสาระวิชาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สื่อและอุปกรณ์สำหรับการศึกษา
เช่น อาคารสถานที่ โต๊ะเก้าอี้ กระดานเขียน หนังสือ แบบเรียน สมุด ดินสอ ตลอดทั้งอุปกรณ์ที่ทันสมัยที่มีราคาแพงทั้งหลาย เช่น อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น สื่อและอุปกรณ์เหล่านี้เป็นส่วนประกอบที่จำเป็นสำหรับการจัดการศึกษา
- รูปแบบวิธีการเรียนการสอน
การศึกษาในระบบยุคปฏิรูปการศึกษา เน้นความสำคัญที่ตัวผู้เรียน รูปแบบวิธีการเรียนการสอนใหม่แตกต่างไปจากเดิม ซึ่งมีกระบวนการเรียนการสอนที่หลากหลาย เช่น การระดมความคิด การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การนำชมนอกสถานที่เรียน การใช้อุปกรณ์เครื่องมือประกอบ
- สถานศึกษาและบรรยากาศแวดล้อม
การจัดการศึกษาในระบบ ยังต้องอาศัยชั้นเรียนยังเป็นสิ่งจำเป็น ดังนั้นอาคารสถานที่ห้องเรียน และบรรยากาศแวดล้อมที่ใช้ในการจัดการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นซึ่งจะต้องจัดบรรยากาศแวดล้อมที่เอื้อการเรียนรู้
- ผู้เรียน
ผู้เรียนหรือผู้ศึกษาถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของการจัดการศึกษา เพราะผู้เรียนคือผู้รับการศึกษาและเป็นเป้าหมายหลักของการจัดการศึกษา การปรับเปลี่ยนความรู้และพฤติกรรมของผู้เรียน เป็นดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของการจัดการศึกษา การจัดการศึกษาจึงครอบคลุมขั้นตอนที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียน ตั้งแต่ การเตรียมความพร้อม สำหรับการเรียนรู้ การให้การศึกษาอบรมการประเมินและการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ต่อเนื่อง
วิเคราะห์ปัญหาการศึกษาที่เกิดจากการจัดการศึกษาในระบบ
วิเคราะห์ปัญหาการศึกษาที่เกิดจากการจัดการศึกษาในระบบ ของสำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยได้เก็บข้อมูลจากผู้จัดการศึกษาทางเลือก 50 กลุ่ม เขตภาคกลาง ได้พบว่าปัญหา การศึกษา ในปัจจุบันมีดังนี้
- คนไม่รู้จักวิเคราะห์ปัญหา ทรัพยากรท้องถิ่น การจัดการ ได้รับการปลูกฝังให้พึ่งพาปัจจัยภายนอก ทำให้คนพึ่งตนเองไม่ได้
- การศึกษาในระบบไม่สามารถรับมือกับกระแสบริโภคนิยมในปัจจุบันได้ เป็นต้นว่า ปัญหายาเสพติด การมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน การก่อความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ ในสังคม การพนัน และ ความฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย
- การศึกษาทำลายความเชื่อมั่นในภูมิปัญญา วิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีงามที่เคยมีมา รู้สึกว่าตนเองล้าหลัง ถ้าไม่จบ การศึกษา คนจะคิดว่าตนเองไม่มีคุณค่า ไม่สามารถทำงานได้
สรุป
การศึกษาในระบบ (Formal Education) เป็นการศึกษาที่มีรูปแบบและระบบแบบแผนชัดเจน มีการกำหนดวัตถุประสงค์ หลักสูตรวิธีการจัดการเรียนการสอน การวัดผล และการประเมินผลที่แน่นอน ซึ่งการศึกษาในระบบของไทยประกอบไปด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาในขั้นอุดมศึกษา โดยการศึกษาขั้นพื้นฐาน ถูกแบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ยังถูกแบ่งเป็นประเภทสามัญศึกษาและประเภทอาชีวศึกษาอีกด้วย สำหรับในการศึกษาขั้นอุดมศึกษานั้น แบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆคือ ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโทและปริญญาเอก
ขอบคุณค่ะ สำหรับบทความดีๆ
ตอบลบ