จิตวิทยาการเรียนรู้วัยผู้ใหญ่
“การศึกษาคือกระบวนการที่ทำให้คนและสังคมเจริญงอกงาม ยิ่งเรียนยิ่งขยัน ยิ่งเรียนยิ่งอดทน ยิ่งเรียนยิ่งซื่อสัตย์ ยิ่งเรียนยิ่งมีความกตัญญู ยิ่งเรียนยิ่งรักปู่ย่าตายาย ดูแลปู่ย่าตายาย ไปไหนก็ดูแลซึ่งกันและกัน บ้านเมืองก็จะมีแต่ความสุข”
เนื้อหาในส่วนนี้ได้รวบรวมสาระ แนวคิด บทความของท่าน ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ที่เป็นผู้ให้นิยาม คำว่า คิดเป็น"กระบวนการคิดเพื่อตัดสินใจ" โดยใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทาง สังคมหรือสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ ปรัชญา "คิดเป็น" มีรายละเอียดและสาระที่น่าศึกษา
จิตวิทยาการเรียนรู้วัยผู้ใหญ่
กลุ่มเป้าหมายผู้เข้ารับการบริการและผู้เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนส่วนใหญ่ เป็นผู้ใหญ่ ตลอดจนกระทั่งผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ ก็มีอยู่เป็นจำนวนมากด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องกับ'koการศึกษานอกโรงเรียน จะต้องมีความรู้และความ เข้าใจในพัฒนาการและการเรียนรู้ของผู้ใหญ่
วัยผู้ใหญ่นั้นเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานที่สุดสำหรับมนุษย์เราทุกคน ตลอดจนเป็นช่วงเวลาที่สามารถทำประโยชน์ให้กับสังคมได้มากที่สุด และเป็นเวลาที่เราจะต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันตลอดไปด้วย โดยเฉพาะในด้านที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนสำหรับผู้ใหญ่ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ทั้งด้านที่เกี่ยวกับพัฒนาการ สมมุติฐานที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ การเปลี่ยนแปลงในวัยผู้ใหญ่ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่ และเทคนิคในการสอนผู้ใหญ่
พัฒนาการและภารกิจในวัยผู้ใหญ่
เฮฟวิกเฮิร์ท (อ้างใน สุวัฒน์ วัฒนวงศ์,2528 : 201) เป็นนักจิตวิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษย์ในแง่ของสังคมวิทยา ที่เกี่ยวข้องกับบทบาทภาระหน้าที่ของคนในวัยผู้ใหญ่ ได้แบ่งพัฒนาการของบุคคลออกเป็น 6 ระยะด้วยกัน โดย 3 ระยะแรกเกี่ยวกับวัยเด็กจนถึงวัยรุ่น สำหรับ 3 ระยะหลังนั้นเกี่ยวข้องกับพัฒนาการในวัยผู้ใหญ่โดยเฉพาะ ซึ่งแยกระยะเวลาของแต่ละช่วงได้ดังนี้
ภารกิจเชิงพัฒนาการของผู้ใหญ่
สิ่งที่จะช่วยบ่งชี้ถึงพัฒนาการมนุษย์ในวัยต่างๆ ได้อย่างดียิ่งคือ "ภารกิจเชิงพัฒนาการ" ซึ่งมีความหมายเกี่ยวกับภารกิจที่บุคคลทั่วๆ ไปควรจะปฏิบัติ หรือควรจะกระทำในแต่ละช่วงของระยะเวลาพัฒนาการ และถ้าหากบุคคลประสบความล้มเหลวหรือไม่สามารถประกอบภารกิจนั้นๆ ได้ อาจจะก่อให้เกิดปัญหาด้านพัฒนาการในแต่ละขั้นตอน
การพิจารณาพัฒนาการในวัยผู้ใหญ่ทั้ง 3 ระยะตามที่ Havighurst ได้แยกไว้ โดยใช้เกณฑ์เกี่ยวกับภารกิจเชิงพัฒนาการเป็นแนวทางในการศึกษาถึงภาระหน้าที่ต่างๆ ของผู้ใหญ่แต่ละวัย
สมมุติฐานที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่
ศาสตราจารย์ เดย์ (H.I Day, 1971) นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยโตรอนโต แคนาดา ได้ทำการศึกษาค้นคว้าและได้นำเสนอแนวคิด ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์ในการตรวจสอบเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ช่วยให้นักการศึกษาผู้ใหญ่มีความเข้าใจในเรื่องการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ดีขึ้น สมมุติฐานที่มีคุณค่าทั้ง 5 ประการนั้น ได้แก่
1. ช่วงชีวิตของผู้ใหญ่
จากการศึกษาถึงปัญหาต่างๆ ในช่วงชีวิตของคน ทำให้ทราบถึงสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและมีอิทธิพลต่อสติปัญญาของผู้ใหญ่ อันมีผลทำให้การเรียนรู้ของผู้ใหญ่ด้อยกว่าคนหนุ่มสาว ปัญหาอันสำคัญก็คือการเสื่อมถอย ซึ่งเป็นลักษณะธรรมชาติของชีวิตนั่นเอง และการเสื่อมถอยนั้นพบว่ามีองค์ประกอบที่สำคัญๆ 3 ประการ สำหรับผู้ใหญ่ ได้แก่
การเปลี่ยนแปลงบทบาทที่สำคัญๆ ซึ่งบังเกิดขึ้นแก่ผู้ใหญ่ มักจะได้แก่การบรรลุถึงจุดสุดยอดในอาชีพการงาน ช่วยให้บุตรได้รับอิสรภาพและเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบต่อไป การยอมรับสภาพชีวิตครอบครัวที่ลูกๆ แยกตัวออกไปในบางครั้งผู้ใหญ่ก็เกิดความสับสนในบทบาทฐานะทางสังคม หรือระดับฐานะทางเศรษฐกิจและระดับขั้นทางสังคมได้เสมอๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ โนลส์ (Malclom S. Knowles) ได้แยกประเภทของบทบาทต่างๆ ควบคู่กับสมรรถภาพของบทบาท มีสาระสำคัญของข้อเสนอแนะมีดังต่อไปนี้
บทบาท สมรรถภาพ
3. วุฒิภาวะ
คำว่า "วุฒิภาวะ" หมายความว่ามนุษย์สามารถมีพัฒนาการไปในทิศทางที่อาจคาดการณ์ได้แน่นอน โดยเฉพาะก็คือจะมีความเป็นอิสระมากยิ่งขึ้น เป็นบุคคลที่มีความรับผิดชอบตนเองได้ มีระเบียบกฎเกณฑ์ของตัวเอง มีความสามารถในการควบคุมตนเองได้ โดยสรุปก็คือบุคคลไม่จำเป็นที่จะต้องได้รับการควบคุมจากสิ่งภายนอก ในการที่จะมาบีบบังคับให้กระทำพฤติกรรมต่างๆ นอกจากนั้นแล้วพัฒนาการของมนุษย์ในส่วนที่เกี่ยวกับวุฒิภาวะ ยังได้รับอิทธิพลมาจากการชี้แนวทางในการอบรมเลี้ยงดูเด็กด้วย
4. ประสบการณ์ของผู้ใหญ่
องค์ประกอบที่สำคัญมากในด้านการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ก็คือ การมีประสบการณ์ที่มี คุณค่าอย่างยิ่งของผู้ใหญ่ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใหญ่นำเอาคุณค่าเหล่านี้มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ ประสบการณ์ของผู้ใหญ่อาจจำแนกออกได้เป็น 3 ด้าน ก็คือ
5. การเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง
จุดมุ่งหมายสำคัญของการศึกษาผู้ใหญ่ หรือการศึกษาประเภทใดๆ ก็ตาม มีความมุ่งหมายที่จะทำให้ผู้เรียน ดำเนินการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยเกิดการเรียนรู้จากภายในตัวผู้เรียนเอง ซึ่งการที่ผู้เรียนจะมีลักษณะเช่นนี้ได้ เขาควรจะเป็นนักคิด เป็นนักสร้างสรรค์และขยายสมรรถภาพการเรียนรู้ไปตลอดชีวิตด้ว
สิ่งที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมาก คือ "บทบาททางสังคม" จากการศึกษาค้นคว้าส่วนมากได้ชี้ให้เห็นว่าบทบาททางสังคมบางอย่าง เช่น การเป็นพ่อ - แม่ การเป็นคู่ครอง (สามี - ภรรยา) ช่วยทำให้บุคคลซึ่งต้องแสดงบทบาทนั้นสามารถเรียนรู้และวางตัวได้ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งบุคคลส่วนมากก็ตระเตรียมตัวเองในการเรียนรู้ บทบาทเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็ว และสามารถแสดงบทบาททางสังคมเหล่านี้ได้อย่างดีด้วย
กลุ่มเป้าหมายผู้เข้ารับการบริการและผู้เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนส่วนใหญ่ เป็นผู้ใหญ่ ตลอดจนกระทั่งผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ ก็มีอยู่เป็นจำนวนมากด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องกับ'koการศึกษานอกโรงเรียน จะต้องมีความรู้และความ เข้าใจในพัฒนาการและการเรียนรู้ของผู้ใหญ่
วัยผู้ใหญ่นั้นเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานที่สุดสำหรับมนุษย์เราทุกคน ตลอดจนเป็นช่วงเวลาที่สามารถทำประโยชน์ให้กับสังคมได้มากที่สุด และเป็นเวลาที่เราจะต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันตลอดไปด้วย โดยเฉพาะในด้านที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนสำหรับผู้ใหญ่ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ทั้งด้านที่เกี่ยวกับพัฒนาการ สมมุติฐานที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ การเปลี่ยนแปลงในวัยผู้ใหญ่ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่ และเทคนิคในการสอนผู้ใหญ่
เฮฟวิกเฮิร์ท (อ้างใน สุวัฒน์ วัฒนวงศ์,2528 : 201) เป็นนักจิตวิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษย์ในแง่ของสังคมวิทยา ที่เกี่ยวข้องกับบทบาทภาระหน้าที่ของคนในวัยผู้ใหญ่ ได้แบ่งพัฒนาการของบุคคลออกเป็น 6 ระยะด้วยกัน โดย 3 ระยะแรกเกี่ยวกับวัยเด็กจนถึงวัยรุ่น สำหรับ 3 ระยะหลังนั้นเกี่ยวข้องกับพัฒนาการในวัยผู้ใหญ่โดยเฉพาะ ซึ่งแยกระยะเวลาของแต่ละช่วงได้ดังนี้
- วัยผู้ใหญ่ตอนต้น (Early Adulthood) อายุ 18 ถึง 35 ปี
- วัยผู้ใหญ่ตอนกลาง (Middle Adulthood) อายุ 35 ถึง 60 ปี
- วัยชราหรือวัยผู้สูงอายุ (Later Maturity) อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
สิ่งที่จะช่วยบ่งชี้ถึงพัฒนาการมนุษย์ในวัยต่างๆ ได้อย่างดียิ่งคือ "ภารกิจเชิงพัฒนาการ" ซึ่งมีความหมายเกี่ยวกับภารกิจที่บุคคลทั่วๆ ไปควรจะปฏิบัติ หรือควรจะกระทำในแต่ละช่วงของระยะเวลาพัฒนาการ และถ้าหากบุคคลประสบความล้มเหลวหรือไม่สามารถประกอบภารกิจนั้นๆ ได้ อาจจะก่อให้เกิดปัญหาด้านพัฒนาการในแต่ละขั้นตอน
การพิจารณาพัฒนาการในวัยผู้ใหญ่ทั้ง 3 ระยะตามที่ Havighurst ได้แยกไว้ โดยใช้เกณฑ์เกี่ยวกับภารกิจเชิงพัฒนาการเป็นแนวทางในการศึกษาถึงภาระหน้าที่ต่างๆ ของผู้ใหญ่แต่ละวัย
- ภารกิจเชิงพัฒนาการในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ผู้ใหญ่ในวัยอายุประมาณ 18 - 35 ปี มีภาระหน้าที่สำคัญๆ ดังต่อไปนี้- การเลือกหาคู่ครอง หรือเพื่อนสนิท- การเรียนรู้ที่จะอยู่อาศัยกับคู่ครอง สามี - ภรรยาได้ตลอดไป- เริ่มต้นการมีชีวิตครอบครัว- มีภาระหน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดูเด็กๆ และลูกๆ- การแสวงหาที่พัก รวมทั้งการมีบ้านเป็นของคนเอง- การเริ่มต้นที่จะมีอาชีพเป็นที่แน่นอนและมั่นคง- มีความรับผิดชอบในฐานะการเป็นพลเมืองดี- การเสาะแสวงหากลุ่มทางสังคม ที่เหมาะสมกับอุปนิสัยของตนเอง เช่น การเป็นสมาชิกสมาคมหรือสโมสรต่างๆ
- ภารกิจเชิงพัฒนาการในวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง ช่วงอายุระหว่าง 35 - 60 ปี มีภาระหน้าที่สำคัญๆ ดังนี้คือ- การได้รับความสำเร็จในฐานะการเป็นพลเมืองดี หรือการมีความรับผิดชอบด้านสังคม การได้รับชื่อเสียง- เริ่มมีหลักฐานที่มั่นคง และพยายามรักษาสถานภาพด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีและเหมาะสมกับฐานะ- ให้ความช่วยเหลือแก่ลูก- หลาน ที่มักจะอยู่ในระยะวัยรุ่น และพยายามทำตัวเองให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุข- มีการใช้เวลาว่างและมีกิจกรรมสันทนาการที่เหมาะสมกับวัย และความสนใจ- มีการยอมรับและการปรับตัวเอง ให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของ ผู้ใหญ่ในวัยนี้- มีการปรับตัวให้เหมาะสมกับการเป็นผู้ใหญ่ที่มีบทบาทเป็นพ่อ - แม่ คือยอมรับสภาพความเป็นจริงของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ภายในครอบครัว
- ภารกิจเชิงพัฒนาการในวัยชรา คือผู้ที่มีอายุเกินกว่า 60 ปีขึ้นไป ควรจะมีบทบาทและภาระหน้าที่ดังต่อไปนี้- เรียนรู้ และปรับตัวเกี่ยวกับความเสื่อมโทรมทางด้านร่างกาย ความเข้มแข็งและสุขภาพร่างกายทั่วๆ ไป- มีการปรับตัวเองเกี่ยวกับการเกษียณอายุจากการทำงาน และเงินรายได้ที่ลดน้อยลงไปด้วย- มีการปรับตัวในด้านการเสียชีวิตคู่ครองที่อาจจะต้องเกิดขึ้น และตัวเองต้องเป็นหม้าย- มีบทบาท และมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน ซึ่งมีความสนใจใกล้เคียงกัน- มีการพบปะ เพื่อการปรึกษาหารือกับคนในวัยเดียวกัน หรือทำกิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกันบ้างเป็นครั้งคราว- มีการกำหนดสถานที่อยู่อาศัย ในภาพที่ตนเองพอใจ โดยอาจจะอยู่อาศัยรวมกันลูกๆ หลานๆ เพื่อนฝูง หรือในหมู่บ้านคนชรา เป็นต้น
ศาสตราจารย์ เดย์ (H.I Day, 1971) นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยโตรอนโต แคนาดา ได้ทำการศึกษาค้นคว้าและได้นำเสนอแนวคิด ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์ในการตรวจสอบเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ช่วยให้นักการศึกษาผู้ใหญ่มีความเข้าใจในเรื่องการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ดีขึ้น สมมุติฐานที่มีคุณค่าทั้ง 5 ประการนั้น ได้แก่
1. ช่วงชีวิตของผู้ใหญ่
จากการศึกษาถึงปัญหาต่างๆ ในช่วงชีวิตของคน ทำให้ทราบถึงสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและมีอิทธิพลต่อสติปัญญาของผู้ใหญ่ อันมีผลทำให้การเรียนรู้ของผู้ใหญ่ด้อยกว่าคนหนุ่มสาว ปัญหาอันสำคัญก็คือการเสื่อมถอย ซึ่งเป็นลักษณะธรรมชาติของชีวิตนั่นเอง และการเสื่อมถอยนั้นพบว่ามีองค์ประกอบที่สำคัญๆ 3 ประการ สำหรับผู้ใหญ่ ได้แก่
- การไม่ได้ใช้ ความล้มเหลวเกี่ยวกับความสามารถต่างๆ นั้นมีสาเหตุสำคัญมากจากการไม่ใช่สิ่งนั้นเป็นเวลานาน
- โรคภัยไข้เจ็บ ความเจ็บป่วยนับว่าเป็นอุปสรรคที่ทำให้มีการเสื่อมถอยได้มากยิ่งขึ้น ในวัยผู้ใหญ่
- การขาดความสนใจ เนื่องจากไม่มีแรงจูงใจที่สูงมากพอจึงมักจะทำให้ไม่ค่อยเกิดความสนใจในกิจกรรมต่างๆ
การเปลี่ยนแปลงบทบาทที่สำคัญๆ ซึ่งบังเกิดขึ้นแก่ผู้ใหญ่ มักจะได้แก่การบรรลุถึงจุดสุดยอดในอาชีพการงาน ช่วยให้บุตรได้รับอิสรภาพและเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบต่อไป การยอมรับสภาพชีวิตครอบครัวที่ลูกๆ แยกตัวออกไปในบางครั้งผู้ใหญ่ก็เกิดความสับสนในบทบาทฐานะทางสังคม หรือระดับฐานะทางเศรษฐกิจและระดับขั้นทางสังคมได้เสมอๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ โนลส์ (Malclom S. Knowles) ได้แยกประเภทของบทบาทต่างๆ ควบคู่กับสมรรถภาพของบทบาท มีสาระสำคัญของข้อเสนอแนะมีดังต่อไปนี้
- ผู้เรียน การอ่าน การเขียน การคิด - คำนวณ การรับรู้ การมีความคิดรวบยอด การประเมินผล จินตนาการ
- การรู้จักตนเอง การวิเคราะห์ตนเอง การมีความรู้สึก การสร้างเป้าหมายในชีวิต การทำให้คุณค่าของชีวิต เด่นชัด การแสดงออก
- ความเป็นเพื่อน ความรัก ความเห็นอกเห็นใจ การรับฟัง การให้ความร่วมมือ การแบ่งปัน การให้ความช่วยเหลือและสนับสนุน
- การเป็นพลเมืองดี การมีส่วนร่วมคือ การเป็นผู้นำ การตัดสินใจการอภิปรายแสดงความคิดเห็น การมองเห็นคุณค่าอื่นๆ
- สมาชิกครอบครัว การบำรุงรักษาสุขภาพ การวางแผนการจัดการ การให้ความช่วยเหลือสมาชิกในครอบครัว การใช้จ่าย การประหยัด ความรักที่มีต่อบุคคลอื่นๆ การมีความรับผิดชอบ
- ผู้ทำงาน การวางแผนด้านอาชีพ มีทักษะในการทำงาน การให้คำแนะนำ การทำงานร่วมกับผู้อื่น การเป็นตัวแทน ความสามารถในการดำเนินกิจการ
- การเป็นผู้ใช้เวลาว่าง รู้จักหาแหล่งวิทยาการต่างๆ ความซาบซึ้ง การรู้จักเล่นและออกกำลังกาย การพักผ่อนหย่อนใจ การเสี่ยงโชค
- การเปลี่ยนแปลงบทบาทเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับบุคลิกภาพ และการพัฒนาตนเอง แต่ว่าการเปลี่ยนแปลงบทบาทต่างๆ อาจทำให้เกิดความตึงเครียดทางอารมณ์ได้ ผู้ใหญ่จึงควรจะได้เรียนรู้วิธีการพักผ่อนหย่อนใจเสียบ้าง ในการเปลี่ยนแปลงบทบาทของบุคคลเช่นที่กล่าวมานี้ ทำให้บุคคลต้องประสบกับความเคร่งเครียดอันเป็นผลของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ นักจิตวิทยา และจิตแพทย์ มีความเห็นว่ามีสิ่งสำคัญที่ผู้ใหญ่สามารถเรียนรู้ได้ คือ ต้องรู้จักวิธีการผ่อนคลายความตึงเครียดของอารมณ์เหล่านี้ให้ได้
3. วุฒิภาวะ
คำว่า "วุฒิภาวะ" หมายความว่ามนุษย์สามารถมีพัฒนาการไปในทิศทางที่อาจคาดการณ์ได้แน่นอน โดยเฉพาะก็คือจะมีความเป็นอิสระมากยิ่งขึ้น เป็นบุคคลที่มีความรับผิดชอบตนเองได้ มีระเบียบกฎเกณฑ์ของตัวเอง มีความสามารถในการควบคุมตนเองได้ โดยสรุปก็คือบุคคลไม่จำเป็นที่จะต้องได้รับการควบคุมจากสิ่งภายนอก ในการที่จะมาบีบบังคับให้กระทำพฤติกรรมต่างๆ นอกจากนั้นแล้วพัฒนาการของมนุษย์ในส่วนที่เกี่ยวกับวุฒิภาวะ ยังได้รับอิทธิพลมาจากการชี้แนวทางในการอบรมเลี้ยงดูเด็กด้วย
องค์ประกอบที่สำคัญมากในด้านการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ก็คือ การมีประสบการณ์ที่มี คุณค่าอย่างยิ่งของผู้ใหญ่ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใหญ่นำเอาคุณค่าเหล่านี้มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ ประสบการณ์ของผู้ใหญ่อาจจำแนกออกได้เป็น 3 ด้าน ก็คือ
- ผู้ใหญ่ทั้งหลายจะมีประสบการณ์อยู่อย่างมากมาย
- ผู้ใหญ่จะมีประสบการณ์ที่แยกออกเป็นประเภทๆ ได้แตกต่างกันไป
- ประสบการณ์ของผู้ใหญ่มีการจัดเรียงลำดับ แตกต่างกัน
จุดมุ่งหมายสำคัญของการศึกษาผู้ใหญ่ หรือการศึกษาประเภทใดๆ ก็ตาม มีความมุ่งหมายที่จะทำให้ผู้เรียน ดำเนินการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยเกิดการเรียนรู้จากภายในตัวผู้เรียนเอง ซึ่งการที่ผู้เรียนจะมีลักษณะเช่นนี้ได้ เขาควรจะเป็นนักคิด เป็นนักสร้างสรรค์และขยายสมรรถภาพการเรียนรู้ไปตลอดชีวิตด้ว
สิ่งที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมาก คือ "บทบาททางสังคม" จากการศึกษาค้นคว้าส่วนมากได้ชี้ให้เห็นว่าบทบาททางสังคมบางอย่าง เช่น การเป็นพ่อ - แม่ การเป็นคู่ครอง (สามี - ภรรยา) ช่วยทำให้บุคคลซึ่งต้องแสดงบทบาทนั้นสามารถเรียนรู้และวางตัวได้ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งบุคคลส่วนมากก็ตระเตรียมตัวเองในการเรียนรู้ บทบาทเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็ว และสามารถแสดงบทบาททางสังคมเหล่านี้ได้อย่างดีด้วย
ไม่มีความคิดเห็น
Do not recommend gambling sites of any kind. If violated, will be prosecuted according to the law.
ขอบคุณที่ได้ให้ความสนใจบทความ ใน mediathailand network ครับ