การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นหลัก
“การศึกษาคือกระบวนการที่ทำให้คนและสังคมเจริญงอกงาม ยิ่งเรียนยิ่งขยัน ยิ่งเรียนยิ่งอดทน ยิ่งเรียนยิ่งซื่อสัตย์ ยิ่งเรียนยิ่งมีความกตัญญู ยิ่งเรียนยิ่งรักปู่ย่าตายาย ดูแลปู่ย่าตายาย ไปไหนก็ดูแลซึ่งกันและกัน บ้านเมืองก็จะมีแต่ความสุข”
เนื้อหาในส่วนนี้ได้รวบรวมสาระ แนวคิด บทความของท่าน ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ที่เป็นผู้ให้นิยาม คำว่า คิดเป็น"กระบวนการคิดเพื่อตัดสินใจ" โดยใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทาง สังคมหรือสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ ปรัชญา "คิดเป็น" มีรายละเอียดและสาระที่น่าศึกษา
การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นหลัก
การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นหลัก ประกอบด้วยการให้ผู้เรียนรับรู้ปัญหาที่ไม่มีโครงสร้าง เปิดกว้าง และท้าทายผู้เรียนให้แก้ไขปัญหาด้วยการใช้ข้อมูล และสถานการณ์ชีวิตจริง ผู้เรียนแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิต แต่ปัญหาที่ผู้เรียนต้องแก้ไขจะไม่มีคำตอบที่ถูกเพียงคำตอบเดียว ซึ่งต้องนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาหลายทางเลือก
ทำไมต้องใช้ปัญหาในการเรียน
Howard Gardner (1993) กล่าวว่า "เชาว์ปัญญา" คือความสามารถในการแก้ปัญหา จัดการกับวิกฤตการณ์และผลิตสิ่งที่มีคุณค่า เป้าหมายของการจัดการศึกษา คือ มุ่งให้ผู้เรียนมีความสามารถในการจัดการกับข้อมูล แล้วใช้อย่างสร้างสรรค์ ปฏิบัติได้จริง เพราะการแก้ไขปัญหา ผู้เรียนจะใช้ทักษะและความสามารถในหลายรูปแบบและได้ใช้ทรัพยากรที่หลากหลายและสมดุล วิธีการสอนแบบนี้ไม่ทำให้ครูเป็นศูนย์กลางมากเกินไป
วิธีการทำอย่างไร
ขั้นตอนการแก้ปัญหา
1. ทำความเข้าใจกับปัญหาและระบุสิ่งที่เป็นปัญหา
2. ทบทวน และใช้ความรู้และประสบการณ์
3. เริ่มจากสิ่งผู้เรียนรู้แล้ว
4. วางแผนขั้นตอนของตนเอง
5. ทำงานตามความสามารถของตนเอง
6. แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
การทำความกระจ่างกับปัญหา ผู้เรียนจะเข้าใจปัญหาอย่างถ่องแท้ด้วยการอภิปราย หรือการถามตอบ ซึ่งผู้เรียนต้องตั้งคำถามให้ได้ว่า อะไรคือปัญหา ปัญหาเกิดจากสาเหตุใดบ้าง
การระบุแหล่งทรัพยากรที่ต้องใช้ ผู้เรียนจำเป็นต้องสำรวจทรัพยากร รวมทั้งข้อมูลและกระบวนการการเรียนที่รู้มาก่อน ซึ่งจะดำเนินการได้ตามองค์ประกอบ ดังนี้
K (know)
หมายถึง คุณรู้อะไรเกี่ยวกับปัญหานี้บ้าง
N (need)
หมายถึง คุณต้องการรู้อะไรเกี่ยวกับปัญหานี้บ้าง
D (do)
หมายถึง คุณต้องทำอะไรจึงจะได้สิ่งที่ต้องการ
การเข้าถึงข้อมูล เมื่อผู้เรียนได้ระบุสิ่งที่ต้องการแล้ว ก็จะเลือกแหล่งข้อมูล เช่น internet ชุมชน แหล่งข้อมูล หรือระบบข้อมูลอื่น ๆ
การตั้งสมมุติฐาน เมื่อผู้เรียนรวบรวมและประมวลข้อมูลแล้ว ก็ถึงขั้นที่ผู้เรียนต้องตั้งสมมุติฐาน
เลือกวิธีแก้ปัญหาและให้เหตุผล ผู้เรียนต้องนำเสนอวิธการแก้ปัญหาที่คิดว่าเหมาะสมที่สุด พร้อมเหตุผล
หมายเหตุ
ในหนึ่งปัญหา อาจมีสาเหตุหลาย ๆ ด้าน หรือหลายๆ ปัจจัย ในการแก้ไขปัญหานั้น จะต้องสำรวจสาเหตุของปัญหาให้ครอบคลุม และวิเคราะห์ว่าสาเหตุใดที่เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหานั้น เลิกสาเหตุของปัญหาหลัก มาพิจารณากำหนดทางเลือกในการแก้ไขปัญหา
การแก้ไขปัญหา โดยใช้การบวนการคิดเป็น คือการใช้ข้อมูล 3 ด้าน ประกอบการตัดสินใจแก้ปัญหา ทั้งข้อมูลตนเอง ข้อมูลสังคมและสิ่งแวดล้อม และข้อมูลวิชาการ ทั้งนี้ต้องให้ผสมกลมกลืน คือ สมดุลทั้ง 3 ด้าน จะทำให้การแก้ไขปัญหาได้อย่างมีคุณภาพ สอดคล้องเหมาะมกับตนเอง ซึ่งหมายถถึงเกิดความพึงพอใจ และมีความสุขที่ได้คิดและตัดสินใจด้วยตนเอง
ดร. โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ผู้คิดค้นทฤษฎีพหุปัญญา กล่าวไว้ว่า “ ... เด็กแต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้ ที่แตกต่างกัน เปรียบเหมือนสายรุ้งที่หลากสี บุคคลจึงมีหลากหลาย และมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ซึ่งพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครู ต้องร่วมมือกันเพื่อค้นให้พบว่า เด็กมีลักษณะการเรียนรู้ หรือมีความสามารถที่จะเรียนรู้ในทางใด เพื่อจะได้พัฒนาเด็กให้เต็มตามศักยภาพและได้ใช้ความสามารถได้สูงสุด ... ”
เนื้อหาในส่วนนี้ได้รวบรวมสาระ แนวคิด บทความของท่าน ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ที่เป็นผู้ให้นิยาม คำว่า คิดเป็น"กระบวนการคิดเพื่อตัดสินใจ" โดยใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทาง สังคมหรือสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ ปรัชญา "คิดเป็น" มีรายละเอียดและสาระที่น่าศึกษา
การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นหลัก
การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นหลัก ประกอบด้วยการให้ผู้เรียนรับรู้ปัญหาที่ไม่มีโครงสร้าง เปิดกว้าง และท้าทายผู้เรียนให้แก้ไขปัญหาด้วยการใช้ข้อมูล และสถานการณ์ชีวิตจริง ผู้เรียนแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิต แต่ปัญหาที่ผู้เรียนต้องแก้ไขจะไม่มีคำตอบที่ถูกเพียงคำตอบเดียว ซึ่งต้องนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาหลายทางเลือก
ทำไมต้องใช้ปัญหาในการเรียน
Howard Gardner (1993) กล่าวว่า "เชาว์ปัญญา" คือความสามารถในการแก้ปัญหา จัดการกับวิกฤตการณ์และผลิตสิ่งที่มีคุณค่า เป้าหมายของการจัดการศึกษา คือ มุ่งให้ผู้เรียนมีความสามารถในการจัดการกับข้อมูล แล้วใช้อย่างสร้างสรรค์ ปฏิบัติได้จริง เพราะการแก้ไขปัญหา ผู้เรียนจะใช้ทักษะและความสามารถในหลายรูปแบบและได้ใช้ทรัพยากรที่หลากหลายและสมดุล วิธีการสอนแบบนี้ไม่ทำให้ครูเป็นศูนย์กลางมากเกินไป
วิธีการทำอย่างไร
ขั้นตอนการแก้ปัญหา
1. ทำความเข้าใจกับปัญหาและระบุสิ่งที่เป็นปัญหา
2. ทบทวน และใช้ความรู้และประสบการณ์
3. เริ่มจากสิ่งผู้เรียนรู้แล้ว
4. วางแผนขั้นตอนของตนเอง
5. ทำงานตามความสามารถของตนเอง
6. แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
การทำความกระจ่างกับปัญหา ผู้เรียนจะเข้าใจปัญหาอย่างถ่องแท้ด้วยการอภิปราย หรือการถามตอบ ซึ่งผู้เรียนต้องตั้งคำถามให้ได้ว่า อะไรคือปัญหา ปัญหาเกิดจากสาเหตุใดบ้าง
การระบุแหล่งทรัพยากรที่ต้องใช้ ผู้เรียนจำเป็นต้องสำรวจทรัพยากร รวมทั้งข้อมูลและกระบวนการการเรียนที่รู้มาก่อน ซึ่งจะดำเนินการได้ตามองค์ประกอบ ดังนี้
K (know)
หมายถึง คุณรู้อะไรเกี่ยวกับปัญหานี้บ้าง
N (need)
หมายถึง คุณต้องการรู้อะไรเกี่ยวกับปัญหานี้บ้าง
D (do)
หมายถึง คุณต้องทำอะไรจึงจะได้สิ่งที่ต้องการ
การเข้าถึงข้อมูล เมื่อผู้เรียนได้ระบุสิ่งที่ต้องการแล้ว ก็จะเลือกแหล่งข้อมูล เช่น internet ชุมชน แหล่งข้อมูล หรือระบบข้อมูลอื่น ๆ
การตั้งสมมุติฐาน เมื่อผู้เรียนรวบรวมและประมวลข้อมูลแล้ว ก็ถึงขั้นที่ผู้เรียนต้องตั้งสมมุติฐาน
เลือกวิธีแก้ปัญหาและให้เหตุผล ผู้เรียนต้องนำเสนอวิธการแก้ปัญหาที่คิดว่าเหมาะสมที่สุด พร้อมเหตุผล
หมายเหตุ
ในหนึ่งปัญหา อาจมีสาเหตุหลาย ๆ ด้าน หรือหลายๆ ปัจจัย ในการแก้ไขปัญหานั้น จะต้องสำรวจสาเหตุของปัญหาให้ครอบคลุม และวิเคราะห์ว่าสาเหตุใดที่เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหานั้น เลิกสาเหตุของปัญหาหลัก มาพิจารณากำหนดทางเลือกในการแก้ไขปัญหา
การแก้ไขปัญหา โดยใช้การบวนการคิดเป็น คือการใช้ข้อมูล 3 ด้าน ประกอบการตัดสินใจแก้ปัญหา ทั้งข้อมูลตนเอง ข้อมูลสังคมและสิ่งแวดล้อม และข้อมูลวิชาการ ทั้งนี้ต้องให้ผสมกลมกลืน คือ สมดุลทั้ง 3 ด้าน จะทำให้การแก้ไขปัญหาได้อย่างมีคุณภาพ สอดคล้องเหมาะมกับตนเอง ซึ่งหมายถถึงเกิดความพึงพอใจ และมีความสุขที่ได้คิดและตัดสินใจด้วยตนเอง
...............................................................................................................................
ดร. โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ผู้คิดค้นทฤษฎีพหุปัญญา กล่าวไว้ว่า “ ... เด็กแต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้ ที่แตกต่างกัน เปรียบเหมือนสายรุ้งที่หลากสี บุคคลจึงมีหลากหลาย และมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ซึ่งพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครู ต้องร่วมมือกันเพื่อค้นให้พบว่า เด็กมีลักษณะการเรียนรู้ หรือมีความสามารถที่จะเรียนรู้ในทางใด เพื่อจะได้พัฒนาเด็กให้เต็มตามศักยภาพและได้ใช้ความสามารถได้สูงสุด ... ”
ไม่มีความคิดเห็น
Do not recommend gambling sites of any kind. If violated, will be prosecuted according to the law.
ขอบคุณที่ได้ให้ความสนใจบทความ ใน mediathailand network ครับ