1.3 ลักษณะและรูปแบบการนำเสนอ
ตอนที่ 1 ขั้นตอนและกระบวนการนำเสนอ
1.3 ลักษณะและรูปแบบการนำเสนอ
เป็นที่ทราบกันดีว่ามนุษย์สามารถรับรู้สาระ เรื่องราวได้ดีที่สุดผ่านระบบประสาททางตา (75%) รองลงมาก็คือทางการได้ยินผ่านหู (13%) แต่คนเราจะจำได้เพียง 20% ของสิ่งที่ได้เห็น และจำเพียง 30% ของสิ่งที่ได้ยิน แต่ถ้าหากตั้งใจรับทั้งการได้ยินและประทับใจสิ่งที่ได้เห็น มนุษย์จะจำได้สูงถึง 70% เลยทีเดียว ดังนั้น หากเราสามารถสร้างสรรกระบวนการนำเสนอที่ดี ผ่านการรับรู้ด้วยตาและหู (Audio & Visual) ก็ถือเป็นกระบวนการการถ่ายทอดหรือการสื่อสารผ่านพลังของการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพ
รูปแบบของการนำเสนอในปัจจุบัน พอสรุป โดยภาพรวมจะมี 3 วิธีการ คือ
1.มีผู้นำเสนอเป็นหลัก
ลักษณะการถ่ายทอดจะอยู่ที่ตัวคนหรือผู้นำเสนอ(พูด) เป็นสำคัญ รูปแบบมักจะเป็นการปาฐกถา การกล่าวเปิดประชุม การบรรยายก่อนการประชุมสัมมนา เป็นต้น การนำเสนออาจจะมีการใช้เอกสารประกอบ (Handout) เป็นส่วนร่วมในการนำเสนอด้วยก็ได้
2.มีผู้นำเสนอและใช้สื่ออุปกรณ์
การถ่ายทอดรูปแบบนี้แม้จะใช้คนเป็นผู้นำเสนอเป็นหลักเช่นแบบแรก แต่มีการผสมผสานด้วยสื่อกลางที่เป็นภาพนิ่งหรือมัลติมีเดียผ่านอุปกรณ์ เครื่องมือ เป็นการนำเสนอที่เพิ่มมุมมอง ความน่าสนใจ นอกจากนี้อาจจะมี เอกสารประกอบ (Handout) การบรรยายหรือการนำเสนอด้วย
3.นำเสนอในรูปของนิทรรศการ
การนำเสนอแบบนี้ตัว Display จะเป็นสื่อหลักในการถ่ายทอดสาระความรู้ หากนิทรรศการมีความต่อเนื่องอาจใช้เส้นนำทาง หรือช่องทางบังคับเป็นส่วนพาผู้ชมได้เรียนรู้เนื้อหาไปตามลำดับ โดยการนำเสนอเช่นนี้อาจจะมี การบรรยายเพิ่มเติมด้วยวิทยากร หรือการให้ข้อมูลผ่านเสียง หรือผ่านการแสดง หรือผ่านสื่อประกอบอื่นๆร่วม อาทิ สื่อเสมือนจริง ของจริง สื่อวิดีทัศน์ หรือเอกสารประกอบ
เรื่องราวของการนำเสนอ ยังมีอีกหลายมุมมอง ซึ่งจะได้นำมาให้เรียนรู้กันอย่างต่อเนื่องในโอกาสต่อไป
หมายเหตุ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ การบรรยาย หลักสูตร เทคนิคการนำเสนอและการสรุปงาน มี 3 ส่วน คือ (1)
ขั้นตอนและกระบวนการนำเสนอ (2) เทคนิคการสร้างและพัฒนาสื่อเพื่อการนำเสนอ และ (3) การเป็นผู้พูด(นำเสนอ) และการบรรยายสรุปที่ดี
1.3 ลักษณะและรูปแบบการนำเสนอ
เป็นที่ทราบกันดีว่ามนุษย์สามารถรับรู้สาระ เรื่องราวได้ดีที่สุดผ่านระบบประสาททางตา (75%) รองลงมาก็คือทางการได้ยินผ่านหู (13%) แต่คนเราจะจำได้เพียง 20% ของสิ่งที่ได้เห็น และจำเพียง 30% ของสิ่งที่ได้ยิน แต่ถ้าหากตั้งใจรับทั้งการได้ยินและประทับใจสิ่งที่ได้เห็น มนุษย์จะจำได้สูงถึง 70% เลยทีเดียว ดังนั้น หากเราสามารถสร้างสรรกระบวนการนำเสนอที่ดี ผ่านการรับรู้ด้วยตาและหู (Audio & Visual) ก็ถือเป็นกระบวนการการถ่ายทอดหรือการสื่อสารผ่านพลังของการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพ
รูปแบบของการนำเสนอในปัจจุบัน พอสรุป โดยภาพรวมจะมี 3 วิธีการ คือ
1.มีผู้นำเสนอเป็นหลัก
ลักษณะการถ่ายทอดจะอยู่ที่ตัวคนหรือผู้นำเสนอ(พูด) เป็นสำคัญ รูปแบบมักจะเป็นการปาฐกถา การกล่าวเปิดประชุม การบรรยายก่อนการประชุมสัมมนา เป็นต้น การนำเสนออาจจะมีการใช้เอกสารประกอบ (Handout) เป็นส่วนร่วมในการนำเสนอด้วยก็ได้
2.มีผู้นำเสนอและใช้สื่ออุปกรณ์
การถ่ายทอดรูปแบบนี้แม้จะใช้คนเป็นผู้นำเสนอเป็นหลักเช่นแบบแรก แต่มีการผสมผสานด้วยสื่อกลางที่เป็นภาพนิ่งหรือมัลติมีเดียผ่านอุปกรณ์ เครื่องมือ เป็นการนำเสนอที่เพิ่มมุมมอง ความน่าสนใจ นอกจากนี้อาจจะมี เอกสารประกอบ (Handout) การบรรยายหรือการนำเสนอด้วย
3.นำเสนอในรูปของนิทรรศการ
การนำเสนอแบบนี้ตัว Display จะเป็นสื่อหลักในการถ่ายทอดสาระความรู้ หากนิทรรศการมีความต่อเนื่องอาจใช้เส้นนำทาง หรือช่องทางบังคับเป็นส่วนพาผู้ชมได้เรียนรู้เนื้อหาไปตามลำดับ โดยการนำเสนอเช่นนี้อาจจะมี การบรรยายเพิ่มเติมด้วยวิทยากร หรือการให้ข้อมูลผ่านเสียง หรือผ่านการแสดง หรือผ่านสื่อประกอบอื่นๆร่วม อาทิ สื่อเสมือนจริง ของจริง สื่อวิดีทัศน์ หรือเอกสารประกอบ
เรื่องราวของการนำเสนอ ยังมีอีกหลายมุมมอง ซึ่งจะได้นำมาให้เรียนรู้กันอย่างต่อเนื่องในโอกาสต่อไป
หมายเหตุ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ การบรรยาย หลักสูตร เทคนิคการนำเสนอและการสรุปงาน มี 3 ส่วน คือ (1)
ขั้นตอนและกระบวนการนำเสนอ (2) เทคนิคการสร้างและพัฒนาสื่อเพื่อการนำเสนอ และ (3) การเป็นผู้พูด(นำเสนอ) และการบรรยายสรุปที่ดี
ไม่มีความคิดเห็น
Do not recommend gambling sites of any kind. If violated, will be prosecuted according to the law.
ขอบคุณที่ได้ให้ความสนใจบทความ ใน mediathailand network ครับ