แนวทางการนำเครือข่ายสังคมออนไลน์ไปใช้ในการจัดการศึกษา
จากการที่รัฐบาลได้ดำเนินการวางยุทธศาสตร์ และกำหนดความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์กับการพัฒนาประเทศไทยตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 และปรากฏยุทธศาสตร์ต่อเนื่องในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 ให้เป็น สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ เพื่อใช้และสร้างภูมิปัญญาของคนไทยที่จะนำไปสู่การพัฒนาประเทศชาติให้มีความแข็งแกร่ง และความสามารถที่จะรองรับการท้าทายบนเวทีการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจใหม่ของสังคมโลกาภิวัฒน์ได้อย่างเต็มที่ หนึ่งใน กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ที่เด่นชัดต่อการจัดศึกษา ก็คือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 จึงเป็นการนำภูมิคุ้มกันที่มีอยู่ พร้อมทั้งเร่งสร้างภูมิคุ้มกันในประเทศให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมคน สังคม และระบบเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนและสังคมไทยให้มีคุณภาพ มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากร และได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นธรรม รวมทั้งสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยฐานความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ บนพื้นฐานการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกัน ยังจำเป็นต้องบริหารจัดการแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้หลักการพัฒนาพื้นที่ภารกิจ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมไทย ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเพื่อประโยชน์สุขที่ยั่งยืนของสังคมไทยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เมื่อขึ้นปี 2560 เป็นปีแห่งการเข้าสู่ระยะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ซึ่งที่จริงได้เข้ามาตั้งแต่ ตุลาคม 2559 ที่ผ่านมาแล้ว โดยมีเป้าหมายมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านประเทศไทย จากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง มีความมั่นคง และยั่งยืน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมี ความสุข และนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ระยะยาว “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ของประเทศ
การพัฒนาประเทศชาติภายใต้กรอบการดำเนินการที่สอดคล้องกับพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแม้ว่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงไปในเชิงรูปธรรมหลายๆด้าน แต่ในทางการศึกษา ดูเหมือนว่า ในช่วงรอบ 10 กว่าปีที่ผ่านมา ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมมากนัก ถึงจะมีความพยายามปรับเปลี่ยนหลายสิ่ง หลายอย่าง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบการศึกษาของชาติให้มีความเข้มแข็ง แต่ดูเหมือนว่ายังทำได้ไปมีตรงประเด็นมากนัก แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2560-2575 จึงได้ถูกยกร่างขึ้นเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง อย่างยั่งยืน ซึ่งผลจะเป็นเช่นใด ก็คงต้องรอดูกันต่อไป
แต่ไม่ว่าแผนการศึกษาชาติ จะมีการพัฒนาไปเช่นใด แต่สิ่งหนึ่งที่ประเทศไทยต้องดำเนินการต่ออย่างต่อเนื่องก็คือ การกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน มุ่งพัฒนาคนไทยทุกกลุ่มวัยให้มีความสามารถ ด้วยการพัฒนาให้มีจิตสาธารณะหรือสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม 5 ด้าน ทั้งการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต คิดเป็น ทำเป็น การสะสมความรู้และนำมาคิดเชื่อมโยง เกิดเป็นความคิดริเริ่ม และสร้างสรรค์ การเปิดใจกว้างพร้อมรับทุกความคิดเห็นและการปลูกฝังให้จิตใจมีคุณธรรม รวมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมของครอบครัวชุมชน และสังคมให้มั่นคง เอื้อต่อการพัฒนาคน โดยมีแนวทางด้านการศึกษาที่สำคัญ ดังนี้
ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต สร้างโอกาสการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องให้คนทุกกลุ่มทุกวัยมีทางเลือกและสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้และความรู้ที่หลากหลาย ทั้งที่เป็นวัฒนธรรม ภูมิปัญญาและความรู้ใหม่โดยสร้างนิสัยใฝ่รู้ตั้งแต่วัยเด็ก ควบคู่กับการส่งเสริมให้องค์กรและสื่อทุกประเภทเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทำให้เกิดความคิดริเริ่ม การสร้างปัจจัยสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาระบบบริหารจัดการการศึกษาทางเลือกเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามความสนใจ
จากยุทธศาสตร์นี้ มีสาระโดยรวมว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่รวมคอมพิวเตอร์ สารสนเทศและการสื่อสาร(โทรคมนาคม) ไว้ด้วยกัน โดยกำหนดให้เรียกว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communications Technology : ICT) ก่อให้เกิดกิจกรรมใหม่ๆในทางเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลต่อการดำรงอยู่และการพัฒนาของประเทศที่แตกต่างไปจากอดีตอย่างมาก และเป็นที่ยอมรับกันว่าในศตวรรษที่ 21 นี้จะเกิดเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “เศรษฐกิจแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้” (Knowledge-based Learning Economy) ดังนั้น “สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้” จึงเป็นอีกจุดมุ่งหมายหลักในการพัฒนาประเทศไทยของภาครัฐ ที่ต้องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษาของชาติให้เป็น “สังคมดิจิตอล สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Centered)” ที่เน้นด้านการผลิตความรู้ การกระจายความรู้ และการใช้ความรู้ ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและประเทศชาติ
การก้าวสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ เป็นส่วนหนึ่งของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาด้านต่างๆ ประกอบด้วย
• เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านภาครัฐ (e-Government)
• เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านพาณิชย์ (e-Commerce)
• เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม (e-Industry)
• เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านการศึกษา (e-Education)
• เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านสังคม (e-Society)
ในส่วนของด้านการศึกษา (e-Education) รัฐมีเป้าหมายอย่างแท้จริงในการเสริมสร้างความพร้อมของทรัพยากรมนุษย์ เพื่อช่วยผลักดัน พัฒนาให้เกิดสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ รัฐได้กำหนดยุทธศาสตร์ เพื่อให้เกิดความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและอุปกรณ์การศึกษาและการเรียนรู้ รวมถึง วิชาการ ความรู้ สารสนเทศต่างๆ และศักยภาพที่ดีของผู้สอน อันจะมีส่วนในการจัดการ การบริหารการศึกษา และการฝึกอบรม ทั้งด้านวิชาการและทักษะ เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพความรู้ของประชากร กำลังคน และกำลังแรงงานที่มีคุณภาพ สมบูรณ์ด้วยภูมิปัญญาและการเรียนรู้ สามารถสร้างสรรค์เศรษฐกิจและสังคมไทย ให้มีความเจริญก้าวหน้าไปโดยเร็ว ซึ่งปัจจุบันได้มีการผลักดัน แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2560-2575 มาใช้ทดแทนแผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2552-2559 ที่สิ้นสุดไปแล้ว โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทั้งระบบ เพื่อให้สอดรับการเปลี่ยนแปลงตามกรอบประเทศไทย 4.0 ที่เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม 5 ด้าน ด้านที่สำคัญและจะเป็นแรงขับเคลื่อนด้านการศึกษาก็คือ Smart Device ที่จะเป็นฐานหลักของการก้าวสู่ Education 4.0 ในเร็ววันนี้
ในส่วนสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ เราไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า ขณะนี้เรากำลังอยู่ท่ามกลางกระแสเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เป็นยุคของข้อมูลและข่าวสาร รวมถึงการเรียนรู้ไร้พรมแดนที่ไม่ยึดติดกับกาลเวลา เป็นยุคของโลกดิจิตอล รูปแบบของการศึกษาในประเทศไทยก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน เพื่อให้สอดรับกับกระแสของเทคโนโลยีการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไป ในเส้นทางของการจัดการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต.(web-based) ก็มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับมาไม่น้อยเช่นกัน นับได้ว่ากระแสของการจัดการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือที่ต่างเรียกกันว่า e-learning ในปัจจุบันมีการพัฒนาไปในทุกภาคส่วน
จากแผนภูมิห้วงเวลาของ e-learning ด้านบน ที่มีการเผยแพร่ทั้งบน website และในเอกสารทางวิชาการด้าน e-learning จะพบว่าพัฒนาการของ e-learning เกิดขึ้นมาหลังจากที่ Computer กำเนิดขึ้นมาได้ไม่นาน กลไกหลักของ e-learning จะอยู่บนฐานหรือ based ของ CD-ROM/DVD, Internet รวมถึงเครือข่ายภายในกลุ่มหรือภายในองค์กร แต่ในยุคนั้น คำว่า e-learning ยังไม่มีใครเรียกขาน จะมีแต่คำว่า CBT (Computer Based Training) และ CAI (Computer Assisted Instruction) เท่านั้น
รูปแบบของ e-learning เริ่มมีขึ้นในช่วงต้นปี 1982 ยุคนั้นถูกนำมาใช้ในวงการศึกษาด้วยรูปแบบของสื่อ ที่เรียกว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI (Computer Assisted Instruction) แม้ว่าจะยังอยู่บนระบบปฏิบัติการ DOS แต่ก็ได้รับความนิยมจนถูกนำไปพัฒนาสร้างสื่อเพื่อใช้ในการฝึกอบรมหรือ CBT (Computer Based Training) ซึ่งช่วงปี 1982 -1983 ถือเป็นช่วงเวลาที่ CBT เฟื่องฟูกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาบุคลากรในองค์กรและแวดวงธุรกิจกันอย่างแพร่หลาย และด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนากันอย่างต่อเนื่อง ในช่วงระยะเวลาต่อมา (1984-1993) การพัฒนา e-learning เพื่อ การเรียนการสอนจึงถูกพัฒนาอย่างจริงจังเมื่อ Microsoft ได้ออกระบบปฏิบัติการ multitasking รูปแบบกราฟิกอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน 1985 ที่ชื่อว่า Windows 1.x ที่ทำให้ตอบสนองความเป็นมัลติมีเดียที่สมบูรณ์มากขึ้น ตลอดระยะเวลา 10 ปีของยุคนี้ ถือเป็นอีกช่วงที่ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows และ Macintosh มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญในยุคของ Microsoft Windows 3.x ได้สนองตอบความเป็นมัลติมีเดียได้ดีและสมบูรณ์แบบมากขึ้น มีการใช้ CD-ROM มาบันทึกและอ่านข้อมูล สามารถนำบทเรียนเนื้อหาการเรียนการสอนหรือการฝึกอบรม สร้างเป็นสื่อในรูปของ CD-ROM ไปศึกษา หรือเรียนรู้ด้วยตนเองได้ ในทุกสถานที่ ทุกเวลา ตามที่ต้องการ และในช่วงเวลานี้ภาษา html เริ่มเข้ามีบทบาท แต่ด้วยการสร้าง Web เพื่อการเรียนการสอนด้วย html ยังเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ค่อยง่ายนัก และกระบวนการเชื่อมต่อ การเข้าถึงยังมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ที่สำคัญเวลาการแสดงผล การเข้าถึงข้อมูลในเชิงกราฟิกนั้นต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก ทำให้รูปแบบ e-learning บนเส้นทางบน Web นี้ไม่แพร่หลายเท่าที่ควร ที่มีก็จะแสดงข้อมูลแบบ text เสียส่วนใหญ่ แต่ก็ถือได้ว่า e-learning ได้รุกก้าวเข้าสู่สังคมการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า Internet based learning หรือ web-based learning ถึงแม้ในยุคเริ่มแรกจะประสบปัญหาด้านความเร็ว ด้าน bandwidth ในการแสดงผลข้อมูลเชิงกราฟิก และมัลติมีเดีย ก็ตาม
จากกระแสการเปลี่ยนแปลงทางด้านระบบปฏิบัติการจาก 16 Bit มาสู่ 16/32 Bit ด้วยระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows 95 ในช่วงเดือนสิงหาคมปี 1995 ที่มาพร้อมกับ Internet Explorer ที่ชาญฉลาด รวมถึงเทคโนโลยีการสื่อสารที่รองรับการส่งผ่านสัญญาณได้ดีขึ้น ทำให้เส้นทางบน web นี้ กลายเป็นเป้าหมายและเส้นทางที่สำคัญของการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ทางการศึกษา และนับเป็นจุดเริ่มต้นของ e-learning อย่างแท้จริง เป็นยุคที่เกิดคำศัพท์ที่บัญญัติขึ้นใหม่ในวงการ e-learning หลายคำอาทิ WBI, WBT, ILT, LMS, CMS
เมื่อก้าวสู่ยุคปี 2000 ช่วงนี้กระแสของระบบปฏิบัติการ Windows 98 เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นต่อจาก Windows 95 ที่ได้รับความนิยมสูงสุด แม้จะมีระบบปฏิบัติการ Windows Me ออกมา แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรยังมีผู้ใช้ Windows 98 อยู่เป็นจำนวนมาก ช่วงเวลานี้นับเป็นยุคที่เทคโนโลยีการสื่อสารมีความก้าวหน้าสามารถสนองตอบในการส่งผ่านข้อมูลที่ความเร็วสูงๆ โดยใช้เวลาที่น้อยลง ผนวกกับวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถประมวลผลข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น จึงเป็นส่วนช่วยให้สามารถนำเสนอหรือส่งผ่านข้อมูลมัลติมีเดียที่รวดเร็วกว่าแต่เดิม จากความก้าวหน้าในสองประการนี้ทำให้การจัดการศึกษา และการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถสนองต่อกลไกการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี มีประสิทธิภาพมากที่สุด นับเป็นยุคของ e-learning อย่างแท้จริง ยุคนี้กำหนดให้อยู่ในช่วงปี ค.ศ. 2000-2005
แม้ว่า e-learning มีผู้ให้คำจำกัดความหรือความหมายไว้หลากหลายความหมาย แต่ในปัจจุบันถือได้ว่า e-learning จะหมายถึงการเรียนด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหา (delivery methods) ผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องมือ หรือวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประกอบด้วย เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีด้านบริหารการจัดการศึกษา เทคโนโลยีเครือข่าย ผสมผสานสนองต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง ที่ผู้เรียนจะเลือกเรียนตามความสามารถและความสนใจของตนเอง โดยเนื้อหาและบทเรียนจะถูกออกแบบหน้าแสดงผลการเรียนรู้ที่ผสมผสานระหว่างข้อความ, รูปภาพ, ภาพเคลื่อนไหวและภาพยนตร์ (วิดีทัศน์ หรือ Streaming) รวมถึง มัลติมีเดียในรูปแบบอื่นๆ ตามความเหมาะสม ด้วยกลไกและกระบวนการในการสนับสนุนการเรียนรู้ต่างๆ ที่หลากหลาย สรรสร้างเป็นสื่อที่มีกระบวนการ interactive พร้อมด้วยส่วนนำทาง (navigation) องค์ประกอบเหล่านี้จะถูกผนวกรวมบนหน้าต่างความรู้อย่างลงตัว ส่งไปถึงผู้เรียนผ่าน Web browser โดยผู้เรียน ครูผู้สอน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระหว่างกันได้ เหมือนกับอยู่ในห้องเรียนจริงตามปกติ โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารรูปแบบต่างๆ อาทิ ทาง email, Web-board Chat และอื่นๆอีก
e-learning จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน ทุกเวลา ทุกสถานที่ (Learn for all, anyone anywhere and anytime) ข้อมูลล่าสุด (พ.ศ.2558 อ้างอิงที่ www.internetlivestats.com/internet-users) ได้ประมาณการว่าบนสังคมบนอินเทอร์เน็ตมีสมาชิกเข้ามาใช้งานทั่วโลกรวมกันมากกว่า 7.4 พันล้านคน อินเทอร์เน็ตนับเป็นอีกเส้นทางในการดำเนินวิถีชีวิตสังคมดิจิตอล
ตลอดระยะเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา ด้วยพลังขับเคลื่อนของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โครงข่ายการสื่อสารและ Browser ที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดนั้น ส่งผลให้กระแสของเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แทรกซึมไปในทุกวงการ ไม่ว่าด้านสังคม ด้านธุรกิจ ด้านข่าวสาร บันเทิง การเงิน การแพทย์ การท่องเที่ยว การบริการในด้านอื่นๆอีกมาก รวมถึงด้านการศึกษา กระแสของ e-Education จึงเติบโตอย่างรวดเร็ว นับเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญในการศึกษา รวมถึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาบุคลากรของหน่วยงาน หรือองค์กรกันอย่างกว้างขวาง
จากการที่สังคมการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทั้งในแบบ Web-based learning และ e-learning มีการใช้กัน อย่างแพร่หลาย รวมไปถึงเทคโนโลยีด้านการเรียนรู้ บนสังคมนี้มีพัฒนาการต่อเนื่องอย่างไม่มีขีดจำกัด ทำให้มีการปรับนิยามยุคของ e-learning ขึ้นใหม่ จาก 4 ยุคเดิม ทั้งนี้เพื่อจะได้รองรับ generation ใหม่ของ e-Learning ในยุคถัดไปได้
แม้ว่าหลักการของ e-learning จะมุ่งเน้นที่กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนได้มีอิสระในการเรียนรู้ ครู “ผู้สอน” (Teacher) จะต้องเปลี่ยนบทบาทมาเป็น “ผู้แนะนำ” (Facilitator) หรือที่ปรึกษาการเรียนรู้ ส่วนตัวของ “ผู้เรียน” (Learner) นั้นต้องเปลี่ยนจากผู้ที่คอยรับองค์ความรู้จากการสอนมาเป็น“ผู้แสวงหา” (Researcher) ด้วยการค้นคว้า เสาะ แสวงหาความรู้ ความชำนาญการจาก ผู้รู้ แหล่งเรียนรู้ต่างๆ เพื่อพัฒนา สร้างองค์ความรู้และใช้องค์ความรู้นั้นๆ ด้วยตนเอง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ธรรมชาติของผู้เรียนยังคงเป็น ผู้เรียนมากกว่าจะเป็นผู้แสวงหา อันเป็นผลมาจากการถ่ายทอดซึมซับ พฤติกรรมจากสถานศึกษา ที่สำคัญการปรับเปลี่ยนของครู ในรูปครูชั้นเรียนมาสู่ครูยุคดิจิตอลยังคงเปลี่ยนแปลงได้ช้ามาก ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น e-learning ที่ใช้ในวงการศึกษาไทยส่วนมากจะอยู่ในลักษณะสื่อเสริม (Supplementary) ที่ ใช้ประกอบในการเรียน การสอนปกติ และจะเป็นลักษณะของสื่อเพิ่มเติม (Complementary) ที่มีการกำหนดหัวข้อเนื้อหา และ กิจกรรมให้ผู้เรียน ไปศึกษาหรือสืบค้นจากแหล่งข้อมูล สื่อ และ Website ส่วนการนำ e-learning มาใช้ในลักษณะของ สื่อหลัก (Comprehensive Replacement) ที่ใช้เป็นสื่อทดแทนการเรียนการสอนอย่างสมบูรณ์แบบครบกระบวนการเรียนรู้ ในตัวเอง เหมือนเรียนในชั้นเรียนนั้นยังมีน้อยมาก
จากการที่โลกของการศึกษา โดนเฉพาะ e-learning นั้นได้มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาผันแปรไปตามพัฒนาการทางเทคโนโลยี รวมถึง generation ของ e-learning ที่เปลี่ยนไป ซึ่งสอดคล้องกับคำพูดของ Nicholas Negroponte ได้กล่าวไว้ว่า “อินเทอร์เน็ตสามารถเปลี่ยนแปลงทุกอย่างได้ และอินเทอร์เน็ตส่งผลให้การศึกษาและการฝึกอบรมเปลี่ยนแปลงตามไป ด้วยเช่นกัน” นับจากปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา e-learning ได้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งรูปแบบของการสร้างเนื้อหา การติดต่อสื่อสาร รวมถึง เทคโนโลยีของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนไป โดยจะมุ่งเน้นการเข้าถึงองค์ความรู้และข้อมูลการสร้างความเป็นมิตรกับผู้เรียนมากที่สุด ดังนั้นการพัฒนา e-learning ให้เป็นทางเลือกของการศึกษาอย่างสมบูรณ์นั้น ผู้พัฒนาจึงควรสร้างฐานการเรียนรู้ให้มี สภาพ แวดล้อมที่มีความเป็นมิตร เป็นกันเองมากที่สุด ไม่ควรยึดติดเงื่อนไขรูปแบบการศึกษาในห้องเรียน
เงื่อนไขการพัฒนา e-learning นั้นไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวนัก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะของตัวฐาน(based)ความรู้ กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้เรียน ที่สำคัญอีกประการก็คือจุดประสงค์หลักในการสร้างฐานความรู้ที่มุ่งเน้นจะให้ผู้เข้าชม (เข้าเรียน) นั้นมีผลสัมฤทธิ์เป็นเช่นใด แต่อาจจะยึดองค์ประกอบที่สร้างความสนใจให้กับผู้เรียนได้ดี ที่เรียกว่า 5 e เป็นส่วนประกอบใน การสร้าง e-learning ก็ได้ อันได้แก่
1. Entertainment: บทเรียนต้องมีความเร้าใจ น่าสนใจ ที่สร้างให้เกิดความรู้สึกที่อยากเรียน
2. Ethics: หลักสูตรและบทเรียนที่สร้างมีจริยธรรมสนับสนุนให้ผู้เรียนซื่อสัตย์ ผู้สอนต้องรู้จักการยอมรับความคิดเห็นของผู้เรียน
3. Equity: มีความเท่าเทียมเสมอภาค ให้โอกาสในการเข้าถึงเนื้อหา ข้อมูลการเรียนรู้ที่เท่าเทียมกัน
4. Excellence: วางแผนและออกแบบในการสร้างบทเรียนตอบสนองต่อการเรียนรู้ที่ดีที่สุด มีความเที่ยงตรงถูกต้อง
5. Empowerment (to learners): ให้อิสระแก่ผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม ในการเข้าถึงสาระการเรียนรู้ ภายใต้เงื่อนไขของสาระการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้
ลักษณะของ e-learning ในโลกของการศึกษายุคใหม่นี้เป็นการเติมเต็ม จากเทคโนโลยีที่มีอยู่แต่เดิม เพิ่มช่องทางการเข้าถึงองค์ความรู้ด้วยเทคโนโลยี mobile การใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัสดิจิตอล รวมถึงความสามารถช่องทางของ การสื่อสารเป็นสำคัญ มุ่งเน้นด้วยหลักการ Learning and Life นอกจากจะใช้ ฐานการเรียนรู้บน web-based เหมือนเดิมแล้ว เนื้อหา ข้อมูลเพื่อการเรียนรู้จะ ต้องยืดหยุ่นและน่าสนใจ เน้นการมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ แบบ Blogging Podcasting และ Gamesโดยจำลองการเรียนรู้ก้าวสู่โลกเสมือนของ 3D และ Simulation ที่รองรับจินตนาการของผู้เรียน ตาม concept ของบทเรียนอย่างไร้ ขีดจำกัด สิ่งที่น่าสังเกตของยุคนี้คือการพัฒนา Learning Object ให้มีขนาดที่เล็กลง รองรับการส่งผ่าน ข้อมูลผ่านเทคโนโลยี mobile หรือที่หลายคนเรียกว่า Mobile learning
Concept ของ Learning Object ต้องเป็นข้อมูลเฉพาะเนื้อหาเดียวที่มีขนาดเล็ก เป็นชิ้นส่วนสื่อที่ถ่ายทอดแนวคิดของสาระใจความสำคัญให้กับผู้เรียน โดยการนำเสนออย่างเป็นลำดับข้อมูลที่เข้าใจง่าย นำไปสู่แนวทางที่ให้ ผู้เรียนวิเคราะห์ หรือแปลผลเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวของผู้เรียนเอง
หมายเหตุ
Learning Object ก็คือชิ้นส่วน multimedia (ข้อความ, ภาพนิ่ง, ภาพ เคลื่อนไหว, เสียง, ภาพยนตร์ และอื่นๆ)
ในการจัดการศึกษาออนไลน์สามารถทำได้ 3 ลักษณะ ดังนี้
1. สื่อเสริม (supplementary) นอกจากเนื้อหาที่ปรากฏในลักษณะ e-Learning แล้ว ผู้เรียนยังสามารถศึกษาเนื้อหาเดียวกันนี้ในลักษณะอื่น ๆ เช่น จากเอกสารประกอบการสอน เป็นต้น การใช้ e-Learning ในลักษณะนี้ผู้สอนเพียงต้องการให้ผู้เรียนมีทางเลือกอีกทางหนึ่งสำหรับการเข้าถึงเนื้อหา
2. สื่อเติม (complementary) ผู้สอนออกแบบเนื้อหาให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมจาก e-Learning
3. สื่อหลัก (comprehensive replacement) เป็นการนำ e-Learning ไปใช้ในลักษณะแทนที่การบรรยายในห้องเรียน ผู้เรียนจะต้องศึกษาเนื้อหาทั้งหมดออนไลน์
เทคโนโลยีจะเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน 3 ลักษณะ คือ
1. การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี (Learning about Technology) ได้แก่เรียนรู้ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เรียนรู้จนสามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ ทำระบบข้อมูลสารสนเทศเป็น สื่อสารข้อมูลทางไกลผ่าน Email และ Internet ได้ เป็นต้น
2. การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี (Learning by Technology) ได้แก่การเรียนรู้ความรู้ใหม่ ๆ และฝึกความสามารถ ทักษะ บางประการโดยใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ทางโทรทัศน์ที่ส่งผ่านดาวเทียม การค้นคว้าเรื่องที่สนใจผ่าน Internet เป็นต้น
3. การเรียนรู้กับเทคโนโลยี (Learning with Technology) ได้แก่การเรียนรู้ด้วยระบบการสื่อสาร 2 ทาง กับเทคโนโลยี เช่น การฝึกทักษะภาษากับโปรแกรมที่ให้ข้อมูลย้อนกลับถึงความถูกต้อง (Feedback) การฝึกการแก้ปัญหากับสถานการณ์จำลอง เป็นต้น
แต่เดิมการศึกษาออนไลน์ รู้จักในชื่อของ e-learning (เน้นในระบบจัดการศึกษา) หรือ e-training (เน้นในการพัฒนาบุคลากร) ต่อมา... ด้วยกระแสความเจริญของเทคโนโลยีในด้านต่างๆ รวมถึงการบริโภคข่าวสาร การแสวงหา การเรียนรู้ของมนุษย์ มีความต้องการมากขึ้น มีโอกาสเข้าถึงผ่านช่องทางเทคโนโลยีที่ง่ายยิ่งขึ้น ทำให้กระบวนการศึกษาเรียนรู้ มีการหล่อหลอมรวม มีการพัฒนาเกี่ยวพันกัน
e-education จึงถูกบัญญัติขึ้น เพื่อรองรับการเปลี่ยนการเข้าสู่ยุคดิจิตอล ยุคแห่งการสื่อสาร การแลกเปลี่ยนข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อความ รูปภาพ หรือวิดีทัศน์ สังคมแห่งข้อมูลข่าวสารอย่างแท้จริงในโลกการศึกษายุคปัจจุบัน
กล่าวโดยสรุปการศึกษาออนไลน์ คือ ระบบหรือวิธีการที่พึ่งพาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร นำมาสนับสนุนเพื่อให้เกิดช่องทางการเข้าถึงองค์ความรู้ใหม่ เกิดวิธีการจัดการศึกษาแบบใหม่ วิธีการเรียนรู้(ที่น่าสนใจ)ใหม่
เมื่อขึ้นปี 2560 เป็นปีแห่งการเข้าสู่ระยะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ซึ่งที่จริงได้เข้ามาตั้งแต่ ตุลาคม 2559 ที่ผ่านมาแล้ว โดยมีเป้าหมายมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านประเทศไทย จากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง มีความมั่นคง และยั่งยืน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมี ความสุข และนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ระยะยาว “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ของประเทศ
การพัฒนาประเทศชาติภายใต้กรอบการดำเนินการที่สอดคล้องกับพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแม้ว่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงไปในเชิงรูปธรรมหลายๆด้าน แต่ในทางการศึกษา ดูเหมือนว่า ในช่วงรอบ 10 กว่าปีที่ผ่านมา ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมมากนัก ถึงจะมีความพยายามปรับเปลี่ยนหลายสิ่ง หลายอย่าง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบการศึกษาของชาติให้มีความเข้มแข็ง แต่ดูเหมือนว่ายังทำได้ไปมีตรงประเด็นมากนัก แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2560-2575 จึงได้ถูกยกร่างขึ้นเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง อย่างยั่งยืน ซึ่งผลจะเป็นเช่นใด ก็คงต้องรอดูกันต่อไป
แต่ไม่ว่าแผนการศึกษาชาติ จะมีการพัฒนาไปเช่นใด แต่สิ่งหนึ่งที่ประเทศไทยต้องดำเนินการต่ออย่างต่อเนื่องก็คือ การกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน มุ่งพัฒนาคนไทยทุกกลุ่มวัยให้มีความสามารถ ด้วยการพัฒนาให้มีจิตสาธารณะหรือสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม 5 ด้าน ทั้งการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต คิดเป็น ทำเป็น การสะสมความรู้และนำมาคิดเชื่อมโยง เกิดเป็นความคิดริเริ่ม และสร้างสรรค์ การเปิดใจกว้างพร้อมรับทุกความคิดเห็นและการปลูกฝังให้จิตใจมีคุณธรรม รวมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมของครอบครัวชุมชน และสังคมให้มั่นคง เอื้อต่อการพัฒนาคน โดยมีแนวทางด้านการศึกษาที่สำคัญ ดังนี้
ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต สร้างโอกาสการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องให้คนทุกกลุ่มทุกวัยมีทางเลือกและสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้และความรู้ที่หลากหลาย ทั้งที่เป็นวัฒนธรรม ภูมิปัญญาและความรู้ใหม่โดยสร้างนิสัยใฝ่รู้ตั้งแต่วัยเด็ก ควบคู่กับการส่งเสริมให้องค์กรและสื่อทุกประเภทเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทำให้เกิดความคิดริเริ่ม การสร้างปัจจัยสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาระบบบริหารจัดการการศึกษาทางเลือกเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามความสนใจ
จากยุทธศาสตร์นี้ มีสาระโดยรวมว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่รวมคอมพิวเตอร์ สารสนเทศและการสื่อสาร(โทรคมนาคม) ไว้ด้วยกัน โดยกำหนดให้เรียกว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communications Technology : ICT) ก่อให้เกิดกิจกรรมใหม่ๆในทางเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลต่อการดำรงอยู่และการพัฒนาของประเทศที่แตกต่างไปจากอดีตอย่างมาก และเป็นที่ยอมรับกันว่าในศตวรรษที่ 21 นี้จะเกิดเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “เศรษฐกิจแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้” (Knowledge-based Learning Economy) ดังนั้น “สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้” จึงเป็นอีกจุดมุ่งหมายหลักในการพัฒนาประเทศไทยของภาครัฐ ที่ต้องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษาของชาติให้เป็น “สังคมดิจิตอล สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Centered)” ที่เน้นด้านการผลิตความรู้ การกระจายความรู้ และการใช้ความรู้ ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและประเทศชาติ
การก้าวสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ เป็นส่วนหนึ่งของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาด้านต่างๆ ประกอบด้วย
• เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านภาครัฐ (e-Government)
• เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านพาณิชย์ (e-Commerce)
• เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม (e-Industry)
• เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านการศึกษา (e-Education)
• เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านสังคม (e-Society)
ในส่วนของด้านการศึกษา (e-Education) รัฐมีเป้าหมายอย่างแท้จริงในการเสริมสร้างความพร้อมของทรัพยากรมนุษย์ เพื่อช่วยผลักดัน พัฒนาให้เกิดสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ รัฐได้กำหนดยุทธศาสตร์ เพื่อให้เกิดความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและอุปกรณ์การศึกษาและการเรียนรู้ รวมถึง วิชาการ ความรู้ สารสนเทศต่างๆ และศักยภาพที่ดีของผู้สอน อันจะมีส่วนในการจัดการ การบริหารการศึกษา และการฝึกอบรม ทั้งด้านวิชาการและทักษะ เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพความรู้ของประชากร กำลังคน และกำลังแรงงานที่มีคุณภาพ สมบูรณ์ด้วยภูมิปัญญาและการเรียนรู้ สามารถสร้างสรรค์เศรษฐกิจและสังคมไทย ให้มีความเจริญก้าวหน้าไปโดยเร็ว ซึ่งปัจจุบันได้มีการผลักดัน แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2560-2575 มาใช้ทดแทนแผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2552-2559 ที่สิ้นสุดไปแล้ว โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทั้งระบบ เพื่อให้สอดรับการเปลี่ยนแปลงตามกรอบประเทศไทย 4.0 ที่เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม 5 ด้าน ด้านที่สำคัญและจะเป็นแรงขับเคลื่อนด้านการศึกษาก็คือ Smart Device ที่จะเป็นฐานหลักของการก้าวสู่ Education 4.0 ในเร็ววันนี้
ในส่วนสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ เราไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า ขณะนี้เรากำลังอยู่ท่ามกลางกระแสเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เป็นยุคของข้อมูลและข่าวสาร รวมถึงการเรียนรู้ไร้พรมแดนที่ไม่ยึดติดกับกาลเวลา เป็นยุคของโลกดิจิตอล รูปแบบของการศึกษาในประเทศไทยก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน เพื่อให้สอดรับกับกระแสของเทคโนโลยีการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไป ในเส้นทางของการจัดการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต.(web-based) ก็มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับมาไม่น้อยเช่นกัน นับได้ว่ากระแสของการจัดการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือที่ต่างเรียกกันว่า e-learning ในปัจจุบันมีการพัฒนาไปในทุกภาคส่วน
จากแผนภูมิห้วงเวลาของ e-learning ด้านบน ที่มีการเผยแพร่ทั้งบน website และในเอกสารทางวิชาการด้าน e-learning จะพบว่าพัฒนาการของ e-learning เกิดขึ้นมาหลังจากที่ Computer กำเนิดขึ้นมาได้ไม่นาน กลไกหลักของ e-learning จะอยู่บนฐานหรือ based ของ CD-ROM/DVD, Internet รวมถึงเครือข่ายภายในกลุ่มหรือภายในองค์กร แต่ในยุคนั้น คำว่า e-learning ยังไม่มีใครเรียกขาน จะมีแต่คำว่า CBT (Computer Based Training) และ CAI (Computer Assisted Instruction) เท่านั้น
รูปแบบของ e-learning เริ่มมีขึ้นในช่วงต้นปี 1982 ยุคนั้นถูกนำมาใช้ในวงการศึกษาด้วยรูปแบบของสื่อ ที่เรียกว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI (Computer Assisted Instruction) แม้ว่าจะยังอยู่บนระบบปฏิบัติการ DOS แต่ก็ได้รับความนิยมจนถูกนำไปพัฒนาสร้างสื่อเพื่อใช้ในการฝึกอบรมหรือ CBT (Computer Based Training) ซึ่งช่วงปี 1982 -1983 ถือเป็นช่วงเวลาที่ CBT เฟื่องฟูกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาบุคลากรในองค์กรและแวดวงธุรกิจกันอย่างแพร่หลาย และด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนากันอย่างต่อเนื่อง ในช่วงระยะเวลาต่อมา (1984-1993) การพัฒนา e-learning เพื่อ การเรียนการสอนจึงถูกพัฒนาอย่างจริงจังเมื่อ Microsoft ได้ออกระบบปฏิบัติการ multitasking รูปแบบกราฟิกอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน 1985 ที่ชื่อว่า Windows 1.x ที่ทำให้ตอบสนองความเป็นมัลติมีเดียที่สมบูรณ์มากขึ้น ตลอดระยะเวลา 10 ปีของยุคนี้ ถือเป็นอีกช่วงที่ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows และ Macintosh มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญในยุคของ Microsoft Windows 3.x ได้สนองตอบความเป็นมัลติมีเดียได้ดีและสมบูรณ์แบบมากขึ้น มีการใช้ CD-ROM มาบันทึกและอ่านข้อมูล สามารถนำบทเรียนเนื้อหาการเรียนการสอนหรือการฝึกอบรม สร้างเป็นสื่อในรูปของ CD-ROM ไปศึกษา หรือเรียนรู้ด้วยตนเองได้ ในทุกสถานที่ ทุกเวลา ตามที่ต้องการ และในช่วงเวลานี้ภาษา html เริ่มเข้ามีบทบาท แต่ด้วยการสร้าง Web เพื่อการเรียนการสอนด้วย html ยังเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ค่อยง่ายนัก และกระบวนการเชื่อมต่อ การเข้าถึงยังมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ที่สำคัญเวลาการแสดงผล การเข้าถึงข้อมูลในเชิงกราฟิกนั้นต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก ทำให้รูปแบบ e-learning บนเส้นทางบน Web นี้ไม่แพร่หลายเท่าที่ควร ที่มีก็จะแสดงข้อมูลแบบ text เสียส่วนใหญ่ แต่ก็ถือได้ว่า e-learning ได้รุกก้าวเข้าสู่สังคมการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า Internet based learning หรือ web-based learning ถึงแม้ในยุคเริ่มแรกจะประสบปัญหาด้านความเร็ว ด้าน bandwidth ในการแสดงผลข้อมูลเชิงกราฟิก และมัลติมีเดีย ก็ตาม
จากกระแสการเปลี่ยนแปลงทางด้านระบบปฏิบัติการจาก 16 Bit มาสู่ 16/32 Bit ด้วยระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows 95 ในช่วงเดือนสิงหาคมปี 1995 ที่มาพร้อมกับ Internet Explorer ที่ชาญฉลาด รวมถึงเทคโนโลยีการสื่อสารที่รองรับการส่งผ่านสัญญาณได้ดีขึ้น ทำให้เส้นทางบน web นี้ กลายเป็นเป้าหมายและเส้นทางที่สำคัญของการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ทางการศึกษา และนับเป็นจุดเริ่มต้นของ e-learning อย่างแท้จริง เป็นยุคที่เกิดคำศัพท์ที่บัญญัติขึ้นใหม่ในวงการ e-learning หลายคำอาทิ WBI, WBT, ILT, LMS, CMS
เมื่อก้าวสู่ยุคปี 2000 ช่วงนี้กระแสของระบบปฏิบัติการ Windows 98 เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นต่อจาก Windows 95 ที่ได้รับความนิยมสูงสุด แม้จะมีระบบปฏิบัติการ Windows Me ออกมา แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรยังมีผู้ใช้ Windows 98 อยู่เป็นจำนวนมาก ช่วงเวลานี้นับเป็นยุคที่เทคโนโลยีการสื่อสารมีความก้าวหน้าสามารถสนองตอบในการส่งผ่านข้อมูลที่ความเร็วสูงๆ โดยใช้เวลาที่น้อยลง ผนวกกับวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถประมวลผลข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น จึงเป็นส่วนช่วยให้สามารถนำเสนอหรือส่งผ่านข้อมูลมัลติมีเดียที่รวดเร็วกว่าแต่เดิม จากความก้าวหน้าในสองประการนี้ทำให้การจัดการศึกษา และการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถสนองต่อกลไกการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี มีประสิทธิภาพมากที่สุด นับเป็นยุคของ e-learning อย่างแท้จริง ยุคนี้กำหนดให้อยู่ในช่วงปี ค.ศ. 2000-2005
แม้ว่า e-learning มีผู้ให้คำจำกัดความหรือความหมายไว้หลากหลายความหมาย แต่ในปัจจุบันถือได้ว่า e-learning จะหมายถึงการเรียนด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหา (delivery methods) ผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องมือ หรือวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประกอบด้วย เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีด้านบริหารการจัดการศึกษา เทคโนโลยีเครือข่าย ผสมผสานสนองต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง ที่ผู้เรียนจะเลือกเรียนตามความสามารถและความสนใจของตนเอง โดยเนื้อหาและบทเรียนจะถูกออกแบบหน้าแสดงผลการเรียนรู้ที่ผสมผสานระหว่างข้อความ, รูปภาพ, ภาพเคลื่อนไหวและภาพยนตร์ (วิดีทัศน์ หรือ Streaming) รวมถึง มัลติมีเดียในรูปแบบอื่นๆ ตามความเหมาะสม ด้วยกลไกและกระบวนการในการสนับสนุนการเรียนรู้ต่างๆ ที่หลากหลาย สรรสร้างเป็นสื่อที่มีกระบวนการ interactive พร้อมด้วยส่วนนำทาง (navigation) องค์ประกอบเหล่านี้จะถูกผนวกรวมบนหน้าต่างความรู้อย่างลงตัว ส่งไปถึงผู้เรียนผ่าน Web browser โดยผู้เรียน ครูผู้สอน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระหว่างกันได้ เหมือนกับอยู่ในห้องเรียนจริงตามปกติ โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารรูปแบบต่างๆ อาทิ ทาง email, Web-board Chat และอื่นๆอีก
e-learning จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน ทุกเวลา ทุกสถานที่ (Learn for all, anyone anywhere and anytime) ข้อมูลล่าสุด (พ.ศ.2558 อ้างอิงที่ www.internetlivestats.com/internet-users) ได้ประมาณการว่าบนสังคมบนอินเทอร์เน็ตมีสมาชิกเข้ามาใช้งานทั่วโลกรวมกันมากกว่า 7.4 พันล้านคน อินเทอร์เน็ตนับเป็นอีกเส้นทางในการดำเนินวิถีชีวิตสังคมดิจิตอล
ตลอดระยะเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา ด้วยพลังขับเคลื่อนของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โครงข่ายการสื่อสารและ Browser ที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดนั้น ส่งผลให้กระแสของเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แทรกซึมไปในทุกวงการ ไม่ว่าด้านสังคม ด้านธุรกิจ ด้านข่าวสาร บันเทิง การเงิน การแพทย์ การท่องเที่ยว การบริการในด้านอื่นๆอีกมาก รวมถึงด้านการศึกษา กระแสของ e-Education จึงเติบโตอย่างรวดเร็ว นับเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญในการศึกษา รวมถึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาบุคลากรของหน่วยงาน หรือองค์กรกันอย่างกว้างขวาง
จากการที่สังคมการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทั้งในแบบ Web-based learning และ e-learning มีการใช้กัน อย่างแพร่หลาย รวมไปถึงเทคโนโลยีด้านการเรียนรู้ บนสังคมนี้มีพัฒนาการต่อเนื่องอย่างไม่มีขีดจำกัด ทำให้มีการปรับนิยามยุคของ e-learning ขึ้นใหม่ จาก 4 ยุคเดิม ทั้งนี้เพื่อจะได้รองรับ generation ใหม่ของ e-Learning ในยุคถัดไปได้
แม้ว่าหลักการของ e-learning จะมุ่งเน้นที่กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนได้มีอิสระในการเรียนรู้ ครู “ผู้สอน” (Teacher) จะต้องเปลี่ยนบทบาทมาเป็น “ผู้แนะนำ” (Facilitator) หรือที่ปรึกษาการเรียนรู้ ส่วนตัวของ “ผู้เรียน” (Learner) นั้นต้องเปลี่ยนจากผู้ที่คอยรับองค์ความรู้จากการสอนมาเป็น“ผู้แสวงหา” (Researcher) ด้วยการค้นคว้า เสาะ แสวงหาความรู้ ความชำนาญการจาก ผู้รู้ แหล่งเรียนรู้ต่างๆ เพื่อพัฒนา สร้างองค์ความรู้และใช้องค์ความรู้นั้นๆ ด้วยตนเอง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ธรรมชาติของผู้เรียนยังคงเป็น ผู้เรียนมากกว่าจะเป็นผู้แสวงหา อันเป็นผลมาจากการถ่ายทอดซึมซับ พฤติกรรมจากสถานศึกษา ที่สำคัญการปรับเปลี่ยนของครู ในรูปครูชั้นเรียนมาสู่ครูยุคดิจิตอลยังคงเปลี่ยนแปลงได้ช้ามาก ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น e-learning ที่ใช้ในวงการศึกษาไทยส่วนมากจะอยู่ในลักษณะสื่อเสริม (Supplementary) ที่ ใช้ประกอบในการเรียน การสอนปกติ และจะเป็นลักษณะของสื่อเพิ่มเติม (Complementary) ที่มีการกำหนดหัวข้อเนื้อหา และ กิจกรรมให้ผู้เรียน ไปศึกษาหรือสืบค้นจากแหล่งข้อมูล สื่อ และ Website ส่วนการนำ e-learning มาใช้ในลักษณะของ สื่อหลัก (Comprehensive Replacement) ที่ใช้เป็นสื่อทดแทนการเรียนการสอนอย่างสมบูรณ์แบบครบกระบวนการเรียนรู้ ในตัวเอง เหมือนเรียนในชั้นเรียนนั้นยังมีน้อยมาก
เงื่อนไขการพัฒนา e-learning นั้นไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวนัก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะของตัวฐาน(based)ความรู้ กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้เรียน ที่สำคัญอีกประการก็คือจุดประสงค์หลักในการสร้างฐานความรู้ที่มุ่งเน้นจะให้ผู้เข้าชม (เข้าเรียน) นั้นมีผลสัมฤทธิ์เป็นเช่นใด แต่อาจจะยึดองค์ประกอบที่สร้างความสนใจให้กับผู้เรียนได้ดี ที่เรียกว่า 5 e เป็นส่วนประกอบใน การสร้าง e-learning ก็ได้ อันได้แก่
1. Entertainment: บทเรียนต้องมีความเร้าใจ น่าสนใจ ที่สร้างให้เกิดความรู้สึกที่อยากเรียน
2. Ethics: หลักสูตรและบทเรียนที่สร้างมีจริยธรรมสนับสนุนให้ผู้เรียนซื่อสัตย์ ผู้สอนต้องรู้จักการยอมรับความคิดเห็นของผู้เรียน
3. Equity: มีความเท่าเทียมเสมอภาค ให้โอกาสในการเข้าถึงเนื้อหา ข้อมูลการเรียนรู้ที่เท่าเทียมกัน
4. Excellence: วางแผนและออกแบบในการสร้างบทเรียนตอบสนองต่อการเรียนรู้ที่ดีที่สุด มีความเที่ยงตรงถูกต้อง
5. Empowerment (to learners): ให้อิสระแก่ผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม ในการเข้าถึงสาระการเรียนรู้ ภายใต้เงื่อนไขของสาระการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้
ลักษณะของ e-learning ในโลกของการศึกษายุคใหม่นี้เป็นการเติมเต็ม จากเทคโนโลยีที่มีอยู่แต่เดิม เพิ่มช่องทางการเข้าถึงองค์ความรู้ด้วยเทคโนโลยี mobile การใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัสดิจิตอล รวมถึงความสามารถช่องทางของ การสื่อสารเป็นสำคัญ มุ่งเน้นด้วยหลักการ Learning and Life นอกจากจะใช้ ฐานการเรียนรู้บน web-based เหมือนเดิมแล้ว เนื้อหา ข้อมูลเพื่อการเรียนรู้จะ ต้องยืดหยุ่นและน่าสนใจ เน้นการมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ แบบ Blogging Podcasting และ Gamesโดยจำลองการเรียนรู้ก้าวสู่โลกเสมือนของ 3D และ Simulation ที่รองรับจินตนาการของผู้เรียน ตาม concept ของบทเรียนอย่างไร้ ขีดจำกัด สิ่งที่น่าสังเกตของยุคนี้คือการพัฒนา Learning Object ให้มีขนาดที่เล็กลง รองรับการส่งผ่าน ข้อมูลผ่านเทคโนโลยี mobile หรือที่หลายคนเรียกว่า Mobile learning
Concept ของ Learning Object ต้องเป็นข้อมูลเฉพาะเนื้อหาเดียวที่มีขนาดเล็ก เป็นชิ้นส่วนสื่อที่ถ่ายทอดแนวคิดของสาระใจความสำคัญให้กับผู้เรียน โดยการนำเสนออย่างเป็นลำดับข้อมูลที่เข้าใจง่าย นำไปสู่แนวทางที่ให้ ผู้เรียนวิเคราะห์ หรือแปลผลเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวของผู้เรียนเอง
หมายเหตุ
Learning Object ก็คือชิ้นส่วน multimedia (ข้อความ, ภาพนิ่ง, ภาพ เคลื่อนไหว, เสียง, ภาพยนตร์ และอื่นๆ)
ในการจัดการศึกษาออนไลน์สามารถทำได้ 3 ลักษณะ ดังนี้
1. สื่อเสริม (supplementary) นอกจากเนื้อหาที่ปรากฏในลักษณะ e-Learning แล้ว ผู้เรียนยังสามารถศึกษาเนื้อหาเดียวกันนี้ในลักษณะอื่น ๆ เช่น จากเอกสารประกอบการสอน เป็นต้น การใช้ e-Learning ในลักษณะนี้ผู้สอนเพียงต้องการให้ผู้เรียนมีทางเลือกอีกทางหนึ่งสำหรับการเข้าถึงเนื้อหา
2. สื่อเติม (complementary) ผู้สอนออกแบบเนื้อหาให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมจาก e-Learning
3. สื่อหลัก (comprehensive replacement) เป็นการนำ e-Learning ไปใช้ในลักษณะแทนที่การบรรยายในห้องเรียน ผู้เรียนจะต้องศึกษาเนื้อหาทั้งหมดออนไลน์
เทคโนโลยีจะเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน 3 ลักษณะ คือ
1. การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี (Learning about Technology) ได้แก่เรียนรู้ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เรียนรู้จนสามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ ทำระบบข้อมูลสารสนเทศเป็น สื่อสารข้อมูลทางไกลผ่าน Email และ Internet ได้ เป็นต้น
2. การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี (Learning by Technology) ได้แก่การเรียนรู้ความรู้ใหม่ ๆ และฝึกความสามารถ ทักษะ บางประการโดยใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ทางโทรทัศน์ที่ส่งผ่านดาวเทียม การค้นคว้าเรื่องที่สนใจผ่าน Internet เป็นต้น
3. การเรียนรู้กับเทคโนโลยี (Learning with Technology) ได้แก่การเรียนรู้ด้วยระบบการสื่อสาร 2 ทาง กับเทคโนโลยี เช่น การฝึกทักษะภาษากับโปรแกรมที่ให้ข้อมูลย้อนกลับถึงความถูกต้อง (Feedback) การฝึกการแก้ปัญหากับสถานการณ์จำลอง เป็นต้น
แต่เดิมการศึกษาออนไลน์ รู้จักในชื่อของ e-learning (เน้นในระบบจัดการศึกษา) หรือ e-training (เน้นในการพัฒนาบุคลากร) ต่อมา... ด้วยกระแสความเจริญของเทคโนโลยีในด้านต่างๆ รวมถึงการบริโภคข่าวสาร การแสวงหา การเรียนรู้ของมนุษย์ มีความต้องการมากขึ้น มีโอกาสเข้าถึงผ่านช่องทางเทคโนโลยีที่ง่ายยิ่งขึ้น ทำให้กระบวนการศึกษาเรียนรู้ มีการหล่อหลอมรวม มีการพัฒนาเกี่ยวพันกัน
e-education จึงถูกบัญญัติขึ้น เพื่อรองรับการเปลี่ยนการเข้าสู่ยุคดิจิตอล ยุคแห่งการสื่อสาร การแลกเปลี่ยนข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อความ รูปภาพ หรือวิดีทัศน์ สังคมแห่งข้อมูลข่าวสารอย่างแท้จริงในโลกการศึกษายุคปัจจุบัน
กล่าวโดยสรุปการศึกษาออนไลน์ คือ ระบบหรือวิธีการที่พึ่งพาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร นำมาสนับสนุนเพื่อให้เกิดช่องทางการเข้าถึงองค์ความรู้ใหม่ เกิดวิธีการจัดการศึกษาแบบใหม่ วิธีการเรียนรู้(ที่น่าสนใจ)ใหม่
ไม่มีความคิดเห็น
Do not recommend gambling sites of any kind. If violated, will be prosecuted according to the law.
ขอบคุณที่ได้ให้ความสนใจบทความ ใน mediathailand network ครับ