การเรียนออนไลน์ในประเทศไทย พร้อมแค่ไหน
ช่องทางการจัดการศึกษาของโลกในปัจจุบัน จะต้องจัดและให้มีหลายช่องทางเพื่อรองรับการเข้าถึงตามความถนัด ตามวิถีชีวิตจริง ตามสถานการณ์ ตามบริบทของแต่ละพื้นที่ แต่ละบุคคล ตลอดระยะเวลาที่โควิด-19 ได้มาเป็นเพื่อนกับวิถีชีวิตของผู้คนบนโลกใบนี้ ที่ผ่านมา กระแสของการศึกษาออนไลน์แบบครึ่งๆกลางๆ ผลุบๆโผล่ๆ มาเป็นช่วงๆ ในลักษณะต่างคน ต่างทำ ดังนั้นการสร้างช่องทางการเรียนรู้ อย่าสร้างเพื่อสนองกระแส ที่โหมอยู่เป็นระยะ ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบผ่าน Google Forms โดยไม่ได้ศึกษาอะไรเลย แล้วไล่แจกวุฒิบัตรออนไลน์ ทำเพื่ออะไร เพื่อให้โลกรู้ว่าหน่วยงานฉันมีเหรอ นั่นคือการร่วมกันทำลายหลักการจัดการศึกษาออนไลน์ ในรอบปีที่ผ่านมารูปแบบออนไลน์ผ่าน Google Forms แต่เพียงอย่างเดียว อาจจุดประกายแบบไฟไหม้ฟาง เป็นช่วงสั้นๆ วันนี้ ผลก็คือกระแสดังกล่าวได้ ซาลง
หลักการ education 4.0 ของโลก ไม่ได้มุ่งเน้นที่ออนไลน์ ไม่ได้เน้นที่การป้อนความรู้ของครูในชั้นเรียน รูปแบบการศึกษาตามมาตรฐานของโลกต่างเอื้อประโยชน์ พึ่งพากันไปตามการเข้าถึง ไปตามศักยภาพของผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็น คำที่นักการศึกษา(หรือเปล่า) ที่บัญญัติ 3 วิธีการเรียนรู้ จากคำว่า on คือ online, on air และ on-site (ปัจจุบันได้กลายเป็นคำพิมพ์นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งก็ไม่รู้ว่า ใช้ผิด ใช้ถูก กันหรือไม่ สมมุติฐานว่า มาจากคำเดิม คือ online และ on air ที่มีอยู่ แล้วจับคำว่า on-site มารวมกลุ่ม และบางหน่วยงานยังบัญญัติคำว่า on-demand และ on-hand ติดมาอีกสองคำ ซึ่งคงจะหาเวลามาคุยกันในเรื่องของคำเหล่านี้กันอีกที) วิธีการหรือช่องทางดังกล่าว ไม่อาจจะตอบโจทย์ความสำเร็จของการเรียนรู้ แต่ละคน หรือแต่ละเนื้อหาได้ วิธีการหนึ่งอาจเหมาะสมกับเนื้อหาวิชาหนึ่งหรือ คน คนหนึ่ง หรือบางคน ต้องพึ่งพา ทั้ง สอง หรือ สามวิธีการ จึงจะบรรลุเป้าหมายของการเรียน ดังนั้นหน่วยงานที่ต้องจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนที่หลากหลายจะต้อง หยุด แล้ว คิด เพื่อสร้างกลไกการจัดการศึกษา ที่รองรับ ตามบริบทของเนื้อหา และผู้รับบริการที่หลากหลาย แล้วค่อยดำเนินการสร้างระบบการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งเรื่องนี้คงไม่ใช่หน้าที่ของสถานศึกษาในพื้นที่แต่เพียงเท่านั้น ควรร่วมมือกันสร้างและพัฒนา ตั้งแต่ระดับบังคับบัญชาของแต่ละหน่วยงาน นำสิ่งที่มีของหน่วยงาน สถานศึกษาในปัจจุบัน นำมาประยุกต์ พัฒนาต่อยอด เพื่อสร้าง ระบบการศึกษาตามมาตรฐาน education 4.0 (สากล)
ที่ผ่านมาทั้งส่วนกลางและระดับพื้นที่ต่างออกข่าว ถึงการสร้างหรือมีระบบการเรียนรู้ออนไลน์ แล้วประกาศว่านั่นคือ แพลตฟอร์มการศึกษาออนไลน์ แต่จะมีใช้ที่ได้ผลจริงๆกี่แห่ง ส่งผลให้ในแต่ละพื้นที่ ที่เห็นความสำคัญของการศึกษาต้องดิ้นรนกันเอง ซึ่งในอดีต มีพฤติกรรมลักษณะเช่นนี้มากมาย ปลายทางของสิ่งที่สร้างก็คือ ความล้มเหลว นำไปสู่การคิดใหม่ ทำใหม่ เป็นวังวนไม่สิ้นสุด ฝากความหวัง เพื่อเห็นการร่วมมือในการสร้างสรรงาน ที่เป็น model ที่สมบูรณ์ ภายใต้หลักการที่เป็นสากลขององค์กรแห่งการศึกษาจริง โดยส่วนกลางควรเป็นแม่ข่ายในการสร้างสรร ระบบ วิธีการ กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งหมด แล้วส่งต่อให้พื้นที่นำไปบริหารจัดการอย่างอิสระ (อย่าเอาระบบตั้งที่ส่วนกลางแล้วให้พื้นที่เข้าไปใช้) จะช่วยส่งเสริมให้การจัดการศึกษาในภาพรวม มีความเข้มแข็ง มีมาตรฐานเดียวกัน พร้อมที่จะเป็นจุดเริ่มต้นอีกจุดหนึ่งของการสร้างรากฐานเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
ผลสืบเนื่องจากโควิด-19 ที่ยังเป็นภัยต่อมนุษยชาติอย่างต่อเนื่อง วังวนของกระแสออนไลน์ได้โหมขึ้นอีก คำถาม ว่า การเรียนออนไลน์ในประเทศไทยพร้อมแค่ไหน จากคำถามนี้ มีบทความหนึ่งของเว็บไซต์ไทยรัฐ (เมื่อ 20 พ.ค.2563) ได้กล่าวถึง การเรียนออนไลน์ในประเทศไทย พร้อมแค่ไหน ไว้ด้วยเช่นกันซึ่งจะขอยกบางส่วนของบทความมาเพื่อให้ท่านได้พิจารณาถึงอีกมุมมอง
- นักเรียนไทยยังขาดแคลนปัจจัยสำหรับการเรียนออนไลน์ ได้แก่ สถานที่ที่เงียบสงบ, อุปกรณ์สำหรับเรียนรู้ และอินเทอร์เน็ต
- เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ครูไทยมีความพร้อมในการใช้อุปกรณ์ดิจิทัลในการเรียนการสอนออนไลน์มากกว่ากลุ่มประเทศสมาชิก
กราฟแสดงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนออนไลน์ที่บ้าน
ข้อดีข้อเสียของการเรียนออนไลน์
ข้อดีของการเรียนออนไลน์ คือคุณครูสามารถจัดทำแผนการเรียนการสอนได้ทันสมัย และให้เด็ก ๆ เข้าถึงข้อมูลจากการค้นหาเพิ่มเติมได้ด้วย แต่ก็มีข้อจำกัดระหว่างผู้เรียน และผู้สอน ดังนี้
ข้อดี
- ลดเวลาการเดินทาง ทั้งครูผู้สอน และผู้เรียน
- มีโปรแกรมช่วยบริหารจัดการ เช็กชื่อนักเรียนเข้าเรียน และรับเอกสารแบบทดสอบ เพื่อใช้ประเมินการเรียนได้สะดวกมากขึ้น
- มีช่องทางสื่อสารระหว่างครูผู้สอน และผู้เรียนได้สะดวก
- ใช้เครื่องมือออนไลน์ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้มากขึ้น
ข้อเสีย
- การสอนที่เป็นการสื่อสารทางเดียว มีโอกาสเกิดความผิดพลาดในการรับรู้ เพราะฉะนั้นต้องมีแบบทดสอบที่ประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน
- การเข้าถึงอุปกรณ์เรียนออนไลน์ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์, โทรศัพท์มือถือ, แท็บเล็ต หรือสัญญาณอินเทอร์เน็ตมีข้อจำกัด
- เด็กนักเรียนไม่มีสมาธิในการเรียน หากให้ใช้มือถือ ก็จะแอบเอามือถือมาเล่นระหว่างเรียน
- เด็กนักเรียนไม่สามารถไตร่ตรองความถูกต้องของข้อมูล จากการเข้าถึงข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ
- เด็กนักเรียนใช้เวลาเสพออนไลน์มากเกินควร
- ผู้ปกครองตอบคำถามหรือทำการบ้านแทนเด็ก
- ผู้ปกครองไม่มีเวลาเฝ้าดูแลเด็ก เพราะต้องทำงาน
ไม่มีความคิดเห็น
Do not recommend gambling sites of any kind. If violated, will be prosecuted according to the law.
ขอบคุณที่ได้ให้ความสนใจบทความ ใน mediathailand network ครับ