Motion infographics : VIDEO
Motion graphic(s) ประเภทวิดีโอ การสร้างต้องใช้แบบร่างที่มีรายละเอียดชัดเจน ซึ่งโครงร่างแบบนี้เรียกว่า Storyboard รายละเอียดใน storyboard ต้องรู้ทิศทางการดำเนินเรื่อง อย่างตรงประเด็น อารมณ์ที่เกิดขึ้นสื่อจะถูกส่งผ่านให้ผู้รับสารหรือ ผู้ดูสื่อตรงตามที่ได้ออกแบบไว้ สิ่งที่เพิ่มเข้ามาใน Motion graphic(s) : Video ก็ คือเสียง(เพลง) ประกอบ ซึ่งการเลือกเสียงที่เหมาะสมจะเป็นส่วนนำพาให้ผู้รับสาร ตามเรื่องราวไปจนจบ
ในการพัฒนาโมชั่นกราฟิก ที่เป็นแบบ Animation แล้ว รูปแบบวิดีโอ (.mp4 หรือ .mov) ก็เป็นอีกประเภท ที่นิยมสร้างและนำมาใช้ในวงการโษณาประชาสัมพันธ์เพื่อต่อยอดภาคธุรกิจ รวมถึงเป็นอีกสื่อสำคัญในวงการศึกษาด้วย
และนี่คือสถิติ บางส่วน:
วิดีโอการตลาดสามารถดึงดูดการเข้าชมและโอกาสในการขายเพิ่มขึ้นถึง 300%
วิดีโอบนหน้า Landing Page ของคุณสามารถเพิ่ม Conversion ได้ถึง 80%
โพสต์บนโซเชียลมีเดียรูปแบบวิดีโอสร้างการดูเพิ่มขึ้น 48%
อีเมลที่มีวิดีโอแทรกเข้าไปจะมีอัตราการคลิกสูงขึ้น 300%
เรามาดูลักษณะรูปแบบของ Motion infographics : VIDEO ซึ่งในรูปแบบนี้ บางอย่างสามารถนำมาใช้กับ Motion infographics : GIF Animation ได้ ภ
1. Advanced Animated Titles
ภาพเคลื่อนไหวประเภทนี้ เป็นการออกแบบที่ผสมผสาน ระหว่างคลิปวิดีโอและข้อความที่วางในพื้นที่ว่างที่ได้ออกแบบไว้ ในทางเทคนิคหรือการสร้าง เป็นการวางข้อความ คำสำคัญวางประกอบหรือวางทับฟุตเทจวิดีโอที่มีอยู่ หรือหากจะนำกราฟิกอื่นมาวาง กราฟิกหรือ object ที่มาวางก็ต้องมีคุณสมบัติแบบโปร่งใส ส่วนใหญ่จะเป็นภาพที่ใช้สกุล PNG โดยจะคงความโปร่งใสไว้เพื่อให้สามารถวางเลเยอร์บนวิดีโอหรือไฟล์รูปภาพได้
2. Animated Graphic Loops
เป็นอีกรูปแบบที่คล้ายกับ Animated Typography เพียงแต่รูปแบบนี้ จะเน้นในองค์ประกอบต่างๆ ให้แสดงผลแบบวนไปไม่รู้จบที่ไม่เน้นแค่ตัวอักษรในแบบที่ 1 แต่การวนซ้ำจะรวมไปถึงชิ้นส่วนกราฟิก ฉากหลัง ที่เมื่อแสดงผล ต้องแสดงวนซ้ำได้อย่างไร้รอยต่อ สิ่งเหล่านี้สามารถแสดงบนหน้าจอ LED สำหรับกิจกรรมหรือบนหน้าร้าน ในโลกดิจิทัล ลูปกราฟิกสามารถใช้แทนภาพนิ่งสำหรับโฆษณา โพสต์ในโซเชียลมีเดีย หรือรูปภาพเด่นของเว็บไซต์ได้
3. Animated Explainer Videos
การสื่อสารข้อมูลจำนวนมากในไม่กี่คำหรือด้วยภาพเดียวอาจเป็นเรื่องยาก แต่เมื่อนำมาออกแบบเป็นอินโฟกราฟิกที่ซับซ้อนหลายๆเฟรม ส่งผลให้เป็นอีกวิธีการหนึ่งในการนำเสนอเรื่องราวที่มีเนื้อหามากๆให้น่าสนใจ ซึ่งการอธิบายด้วยภาพที่เข้าใจง่ายจะส่งผลให้การผู้รับชมซึมซับเนื้อหาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เข้าใจตรงกันได้มากขึ้น
วิธีการนี้พื้นฐานเดิมต้องใช้เทคนิคและเครื่องมือด้านการตัดต่อวิดีทัศน์ แต่สามารถนำวิธีการนี้มาประยุกต์ใช้กับแบบ GIF Animation ได้
4. UI/UX Animations
แอนิเมชั่นแบบ UI/UX เป็นแอนนิเมชั่นที่ใช้เทคนิคการนำเสนอเรื่องราวโดยใช้เทคนิคของการสร้างงานวิดีทัศน์ นำมาสร้างชิ้นงานอีกประเภทหนึ่ง โดยปัจจุบันจะนำมานำเสนอในการสร้างสื่อเพื่ออธิบายการทำงานสิ่งที่มีความซับซ้อน อาทิ Software หรือระบบเครื่องกล ซึ่งคุณสมบัติของงานแอนิเมชั่น UI/UX สามารถหยุด หรือ slow หรือเร่งเฟรมได้ และระหว่างขั้นตอนสามารถเพิ่มรายละเอียดระหว่างการนำเสนอขั้นตอนให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นได้
5. Animated Ads
Animated Ads หรือโฆษณาแบบเคลื่อนไหว รูปแบบนี้จริงๆก็คือวิดีโอสั้น ๆ ที่เน้นประเด็นสำคัญเฉพาะของธุรกิจ หรือส่วนสำคัญของเนื้อหาบทเรียน เสริมคำอธิบายแบบแอนิเมชั่นเต็มรูปแบบ Animated Ads จะใช้ความยาวไม่เกิน 90 วินาที Animated Ads ใช้บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ เช่น Facebook, Instagram, LinkedIn และ YouTube
6. Transparent Animated Assets
หมายเหตุ
การสร้าง Motion graphic(s) ประเภทวิดีโอ ต้องใช้โปรแกรมเฉพาะ อาทิ Adobe After Effects หรือ Adobe Premiere เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น
Do not recommend gambling sites of any kind. If violated, will be prosecuted according to the law.
ขอบคุณที่ได้ให้ความสนใจบทความ ใน mediathailand network ครับ