อายุและการเสื่อมของแบตเตอรี่ใน Notebook
NOTEBOOK ได้กลายเป็นอีกอุปกรณ์สำคัญของการทำงานสำนักงาน รวมถึงครู บุคลากรทางการศึกษา หลายคนอาจรู้สึกว่าหลังจากใช้งาน มีสักปี หรือสองปี รู้สึกถึงระยะเวลาในการใช้งานโดยไม่เสียบแหล่งจ่ายพลังงานมีระยะเวลาการทำงานที่สั้นหรือลดลง ดังนั้นวันนี้เราจะมีวิธีตรวจสอบประสิทธิภาพแบตเตอรี่ใน Notebook ของเราเสื่อมลงแล้วหรือยัง โดยมีวิธีการดังนี้
1.คลิกปุ่ม Windows+R ที่ช่อง Open พิมพ์คำว่า CMD
2.จะเกิดหน้าต่าง Command Prompt ให้พิมพ์ powercfg /batteryreport ดังภาพด้านล่าง
3.เมื่อกด Enter มันจะเกิดไฟล์ข้อมูลรายงานผล(battery report.html)โดยจะไปนำเก็บยังตำแหน่งอยู่ในโฟลเดอร์ C:\Users\[username ของเครื่องที่เราตั้งไว้]\battery report.html
4.เปิดไฟล์ battery report.html เพื่ออ่านผล ซึ่งจะแสดงผลในหลายๆส่วน ดังนี้
(1) Chemistry แสดงประเภทของแบตเตอรี่ที่ใช้อยู่
แบตเตอรี่ของ Notebook ปัจจุบันส่วนใหญ่จะมีเพียง สองแบบ คือ แบบลิเธียมไอออน(LIon) และลิเธียมโพลีเมอร์(LiP) ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับแบรนด์ผู้ผลิตที่จะประกอบแบบไหนมาให้
(2) แสดงค่าพลังงานของแบตเตอรี่
DESIGN CAPACITY หมายถึง ค่าความจุของแบตเตอรี่ที่ควรชาร์จได้ซึ่งเป็นค่าความจุเต็มที่ของแบตเตอรี่จากโรงงาน
FULL CHARGE CAPACITY หมายถึง ค่าความจุของแบตเตอรี่ที่ชาร์จเต็มจากสภาพการใช้งานจริงในรอบปัจจุบัน
ความจุแบตเตอรี่ (Design Capacity) ที่มีมาให้นั้น คือความจุสูงสุดที่จะสามารถได้รับการชาร์จคืนประจุเข้าไปได้ ในขณะที่ Full Charge Capacity หรือความจุแบตเตอรี่เมื่อชาร์จเต็ม จะหมายถึงว่า แบตเตอรี่สามารถรองรับประจุได้เท่าไหร่แล้วในตอนนี้ ซึ่งถ้าตัวเลขทั้งสองยังมีค่าที่ใกล้เคียงกัน แตกต่างกันไม่มาก ก็แปลว่า สภาพของแบตเตอรี่ยังดีอยู่ แต่ถ้าตัวเลข Full Charge Capacity เริ่มต่ำกว่า Design Capacity ลงไปมากกว่า 20% แปลว่าแบตเตอรี่กำลังเสื่อมลง และถ้าเกินมากกว่า 40% ถือว่าอยู่ในสภาพที่ควรพิจารณาเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้
CYCLE COUNT หมายถึง จำนวนรอบของการประจุพลังงานสภาพปกติ โดยปกติ Notebook ทั่วๆไปจะมี Cycle Count ประมาณ 300-400 Life Cycle ขึ้นอยู่กับคุณภาพและแบรนด์ (1 Life Cycle เท่ากับการชาร์จตั้งแต่ประจุหมดจนถึงเต็มนับเป็น 1 ครั้ง) หลังจากนั้นไปแบตเตอรี่โน๊ตบุ๊คก็จะเริ่มเสื่อมสภาพลง โดยจะเก็บพลังงานได้ไม่เท่าเดิมนั่นเอง
(3) Recent usage เป็นส่วนแสดงผลพฤติกรรมการใช้งานที่ผ่านมาของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะแสดงสถานะที่ช่อง SOURCE ว่า เครื่องได้ใช้พลังงานจากการเชื่อมต่อกับแหล่งจ่ายไฟ หรือใช้เแพาะแบตเตอรี่ภายใน ช่อง STATE คือสถานะการใช้งานของเราว่าใช้งานอยู่ (Active) หรือยังไม่ใช้งาน (Suspended) โดยอยู่ในโหมด Sleep หรือ Hibernate เป็นต้น
นอกจากนี้ในส่วนของ capacity remaining ก็จะแสดงถึงพลังงานที่มีอยู่ในตัวแบตเตอรี่ มีค่าอยู่ที่เท่าใด คิดเป็นกี่ %
สำหรับบรรทัดที่ลูกศรสีเขียว กำกับ จะแสดงถึงปริมาณ ล่าสุดของแบตเตอรี่
ที่ BATTERY USAGE เป็นส่วนบันทึกการแสดงผลช่วงเวลาของการใช้งานในแต่ละวัน(เวลา) ว่าใช้พลังงานไปเท่าใด
(4) BATTERY CAPACITY HISTORY
เป็นส่วนบอกประสิทธิภาพของการเก็บประจุพลังงานเมื่อเทียบกับ DESIGN CAPACITY รวมถึงสถานะประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ ซึ่งถ้าตัวเลขในช่อง FULL CHARGE CAPACITY หากในแต่ละช่วงวันเวลาของการใช้พลังงานที่เชื่อมต่อ AC โดยตรงแล้วปรากฏว่ามีตัวเลขของ mWh เปลี่ยนแปลงลดลง เมื่อเทียบกับ DESIGN CAPACITY ซึ่งเป็นค่าที่ออกจากโรงงาน แสดงว่าแบตเตอรี่เริ่มมีการเสื่อมสภาพลง(ในที่นี้ยังมีสภาพคงเดิม)
(กรอบสีขาว) ค่า 63,004 mWh ค่าเต็มดั้งเดิมจากโรงงาน
(กรอบสีฟ้า) ค่า 56,931 mWh เป็นค่าที่ใช้งานแบบ Power AC อย่างต่อเนื่อง
(กรอบสีเขียว) ค่า 57,658 mWh เป็นค่าที่ทำการ reset CYCLE COUNT ครั้งที่ 1
(กรอบสีแดง) ค่า 58,177 mWh เป็นค่าที่ทำการ reset CYCLE COUNT ครั้งที่ 2
หากเป็นเครื่องรุ่นเก่าจะพบว่าอัตราการเก็บประจุ จะลดต่ำลง ในภาพด้านบนเป็นเครื่อง LENOVO YOGA 530 ซึ่งซื้อในปี 2019 เป็นแบตเตอรี่ 3 cell ความจุจากโรงงาน 45,520 mWh แต่ปัจจุบันเมื่อ Charge เต็ม จะมีความสามาถเก็บประจุ เพียง 33,550 mWh หรือ 73.70% เท่านั้น ซึ่งถือว่าแบตเตอรี่เครื่องนี้ เข้าสู่สภาพกำลังเสื่อม
จะเป็นการวัดระยะเวลาใช้งานแบตเตอรี่ ว่าสามารถใช้งานได้นานแค่ไหน การแสดงผลบอกเวลาในภาพรวมที่ใช้งานแบตเตอรี่โดยไม่ได้เสียบ AC POWER
และช่อง since OS install จะแสดงระยะเวลาที่ Windows คำนวนค่าโดยประมาณว่าเครื่องและสภาพแบตเตอรี่ของเราในตอนนี้ สามารถใช้งานได้นานสุดกี่ชั่วโมง
สำหรับในส่วนนี้ Notebook รุ่นเก่า ตัวอย่างภาพด้านบนเป็นเครื่อง LENOVO YOGA 530 ซึ่งซื้อในปี 2019 อาจจะไม่แสดงรายงานผลในบางรายการ ดังภาพ
และ Notebook รุ่นที่เก่ากว่าปี 2015 จะไม่แสดงรายงานผลในทุกรายการ ดังภาพบนเป็น Ultrabook VAIO รุ่นปี 2013 จะไม่แสดงข้อมูลรายการใดๆ
หมายเหตุ
1.แบตเตอรี่ของ Notebook ในปัจจุบันจะมี 2 ลักษณะ คือแบบสำเร็จรูปที่สามารถถอดเปลี่ยนได้(จะเป็น package ที่ค่อนข้างมีน้ำหนัก) กับแบบที่ติดตั้งภายใน ซึ่งจะอยู่ภายในฝาหลังเครื่อง
2.แบตเตอรี่ของ Notebook จะมีอายุการใช้งาน(สภาพปกติทั่วไป) เกณฑ์เฉลี่ย อยู่ที่ 2-5 ปี(หรือมากกว่า)
3.การใช้งานจริงๆ(ปกติ)เวลาอาจจะได้มากบ้าง หรือน้อยกว่าตามที่ระบุไว้ในสเปคของแต่ละแบรนด์
4.การใช้งานจริงๆแนะนำให้เสียบสาย AC Power ไว้ (แม้ไฟเต็มแล้วระบบจะตัดเองโดยอัตโนมัติ) จะช่วยให้ยืดอายุการใช้งานแบตเตอรีได้ เพราะอายุการใช้งาน(สภาพปกติทั่วไป) จะนับตามรอบหรือ CYCLE COUNT เป็นหลัก
5.ขยายความ CYCLE COUNT มีลักษณะโดยย่อคือ การชาร์จ 1 รอบจะนับเป็นพลังงาน 100% เต็ม หมายความว่าถ้ามีแบตเตอรี่ 100% ใช้ไปจนเหลือ 0% และชาร์จกลับมาก็จะนับเป็น 1 รอบ หรือใช้ไปจนเหลือ 50% และชาร์จกลับมาเต็ม100% แล้วใช้งานต่อไปเหลือ 50% ทำการชาร์จกลับมาเต็ม100% อีกครั้งก็จะนับเป็น 1 รอบ หรือใช้ไปจนเหลือ 30% และชาร์จกลับมาเต็ม100% แล้วใช้งานต่อไปเหลือ 30% ทำการชาร์จกลับมาเต็ม100% แล้วใช้ไปจนเหลือ 40% และชาร์จกลับมาเต็ม100%อีกครั้งก็จะนับเป็น 1 รอบเหมือนกัน
6.การนับ CYCLE COUNT ของสมาร์ทโฟน นับแบบเดียวกันกับของ Laptop หรือ Notebook
อ้างอิง : https://www.quora.com/What-is-a-battery-cycle-count
ไม่มีความคิดเห็น
Do not recommend gambling sites of any kind. If violated, will be prosecuted according to the law.
ขอบคุณที่ได้ให้ความสนใจบทความ ใน mediathailand network ครับ