การศึกษาไทยอยู่ตรงจุดไหนของ Education Era
เราคงปฎิเสธไม่ได้ว่า ทุกวันนี้การศึกษาต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเว็บ ภายใต้กรอบช่วงยุคของ education ที่นับเป็นยุค(ช่วงเวลา) ซึ่งปัจจุบัน มาสู่ยุค education 4.0 (2021-2030) การจัดการศึกษาในโลกใบนี้ ไม่ว่าประเทศใดๆในโลก ล้วนต้องอ้างอิงกรอบขับเคลื่อนและพัฒนาการของเว็บหรือ Web era โดย Web 1.0 ถูกกำหนดโดย Tim Berners-lee มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอข่าวสาร หรือข้อมูล เผยแพร่ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในยุคแรกเป็นการรับสารแบบทางเดียวหรือ One-way communication แต่ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนา รวมถึงการอ้างอิงในการพัฒนาระบบอุตสาหกรรม ระบบการสาธารณสุข รวมถึงระบบการศึกษาด้วย) ถ้าเราจะมามองเฉพาะกรอบของ Education era ซึ่งปัจจุบันอยู่ในยุคที่ Education 4.0 ซึ่งเป็นช่วงเวลาของพัฒนาการทางเทคโนโลยีเว็บต่อจาก Education 3.0 แต่ก็ถือว่ามีพัฒนาที่ก้าวกระโดด เรามาดู ทำความเข้าใจอย่างย่อๆ ของพัฒนาการด้าน education กัน
สรุปอย่างย่อๆกันในแต่ละ era
Education 1.0
เป็นการจัดการศึกษาแบบดั้งเดิม เป็นการสอนให้รู้ ท่องจำ เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์จากครูผู้สอนสู่ผู้เรียน จากรุ่นสู่รุ่น โดยใช้หนังสือ ตำรา หลักสูตร และแบบฝึกหัด เป็นเครื่องมือ ไม่ได้เน้นกระบวนการเรียนรู้ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
เป็นการถ่ายทอดความรู้ทางเดียวจากผู้สอนสู่ผู้เรียน
Education 2.0
แม้ว่าครูยังเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ มวลประสบการณ์เช่นเดิม แต่ใน education 2.0 มีการนำหลักวิธีการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญภายใต้กรอบการศึกษาของสถานศึกษา นอกจากนี้ยังเป็นช่วงที่เปลี่ยนผ่านจาก Web 1.0 มาสู่ Web 2.0 การจัดการศึกษาจึงเริ่มให้ความสำคัญกับความถนัด ความสนใจ รวมถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล สนับสนุนและผลักดันให้ผู้เรียนรู้จักการค้นคว้า แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ทั้งในสถานศึกษา ห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ภายในชุมชน หรือแหล่งเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
นอกจากนี้ด้วยมาตรฐาน Web 2.0 เป็นยุคที่ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลได้ 2 ทิศทาง ทำให้การจัดการศึกษายุค education 2.0 เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้แบบสองทาง
มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน ผู้สอน หรือ ระหว่างผู้เรียนด้วยกันมากขึ้น
Education 3.0
เป็นยุคที่ Web 3.0 ได้พัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด Web ได้กลายเป็นอีกแหล่งที่รวบรวมสาระ เนื้อหา หรือ ความรู้ต่างๆมากมาย ผู้สอนและผู้เรียน สามารถเข้าถึงและแสวงหาได้โดยไม่ยาก การสอนรูปแบบการถ่ายทอดประสบการณ์ลดน้อยลง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ใหม่ รวมถึงมีการสร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ โดยการใช้ทักษะทางปัญญา (กระบวนการคิด) ในการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ รวมถึงการแก้ไขปัญหา ทักษะทางสังคม (กระบวนการกลุ่ม) เพื่อให้ผู้เรียนได้ปฏิสัมพันธ์ มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ โดยครูมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียน ด้วยความก้าวหน้า ที่เป็นเว็บที่ฉลาดมากยิ่งขึ้น ของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
ในยุคนี้ก็เกิดคำศัพท์ด้านการจัดการศึกษา โดยกำหนดกรอบหรือกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองการเข้าถึงได้อิสระในทุกแห่ง (Ubiquitous Learning) หรือ u-Learning หรืออาจกล่าวได้ว่า u-Learning เป็นการเรียนรู้ในทุกสถานที่ ที่มีเครือข่ายการสื่อสารสัญญาณอินเทอร์เน็ต เป็นยุคของการให้ความสำคัญของการศึกษาผ่านอุปกรณ์พกพาเคลื่อนที่ หรือ Mobile Device ( Notebook, Smart Phone, Tablet) ซึ่งหลายสำนักเรียกรูปแบบการเรียนรู้นี้ว่า M-Learning
Education 4.0
เป็นการจัดการศึกษาที่เน้นการใช้เทคโนโลยีนำมาสนับสนุนการจัดการศึกษาของสถานศึกษา รูปแบบการศึกษาสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนไป ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่งบนโลกอินเทอร์เน็ต นำมาบูรณาการ นำมาพัฒนา นำไปสู่การเกิดนวัตกรรมใหม่หลายเรื่อง
ในยุค education 4.0 เป็นยุคที่มีการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ส่งผลให้เกิดการวางแนวทางที่นำไปสู่การสร้างความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ รวมถึงการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม นอกจากนี้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ระบาดไปทั่วโลก ส่งผลให้ตั้งแต่ปี 2563 การจัดการศึกษาออนไลน์หลากหลายระบบได้กลายเป็นเส้นทางสำคัญของการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในเกือบทุกระดับ บทเรียนออนไลน์ รวมถึงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (PDF) ถูกนำมาวางบนหน้าเว็บ หรือให้บริการดาวน์โหลดเพื่อการศึกษาเรียนรู้ทั่วทุกสถานศึกษา เป็นยุคที่การเติบโต Mobile Application มีการเติบโตอย่างมากด้วย
ไม่มีความคิดเห็น
Do not recommend gambling sites of any kind. If violated, will be prosecuted according to the law.
ขอบคุณที่ได้ให้ความสนใจบทความ ใน mediathailand network ครับ