Column Right

การดำเนินการอบรม ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชน (TKP) ปี งบประมาณ 2564

 จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ได้แพร่กระจายไปยังชุมชนต่างๆทั่วประเทศ ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมทางการศึกษา รวมถึงโครงการต่างๆ โครงการคลังความรู้ กศน.เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Thailand Knowledge Portal : TKP) ประจำปีงบประมาณ 2564 ของสำนักงาน กศน. ก็ถูกกระทบต่อการดำเนินงาน ติดต่อกันเป็นปีที่สอง ส่งผลให้การดำเนินงานต้องล่าช้าไปจากแผนเดิม เหมือนเช่นปีงบประมาณ 2563 ที่ผ่านมา ดังนั้นการดำเนินงานโครงการฯ ตามสถานการณ์เช่นนี้ คณะทำงานและสถาบันการศึกษาทางไกล ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการขับเคลื่อนงาน จึงหาวิธีการอบรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดย mediathailand ได้ดำเนินการปรับกระบวนการอบรมใหม่ แบ่งออกเป็น 2 ช่วง (1) ช่วงการศึกษาเรียนรู้และเตรียมข้อมูล ผ่านระบบออนไลน์  (2) ช่วงการฝึกอบรมปฏิบัติจริงในสถานที่อบรม

ซึ่งการดำเนินการอบรม ปีงบประมาณ 2564 นี้ จะขับเคลื่อนงานโดย สถาบัน กศน.ภาค ทั้ง 5 ภาค โดยแต่ละภาคจะมีคณะวิทยากร ดำเนินการอบรมออนไลน์ และปฏิบัติการสร้างเว็บข้อมูลความรู้ประชาชนประจำชุมชน และ ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนประจำจังหวัด (ซึ่งคณะทำงานจากสถาบันการศึกษาทางไกล คณะทำงานจากสถาบัน กศน.ภาคทั้งห้าภาค พร้อมด้วยสำนักงาน กศน.จังหวัดที่เข้าร่วมโครงการจะร่วมประชุมกันในวันที่ 13-15 กรกฎาคม 2564 ที่จังหวัดระยอง) โดยแยกฐานการอบรม เป็น 5 ฐาน ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องผ่านฐานการเรียนรู้ออนไลน์ก่อน ที่จะเข้าขั้นตอนปฏิบัติการสร้างเว็บข้อมูลความรู้ประชาชน
ให้ผู้เข้ารับการอบรม คลิกเข้าอบรมออนไลน์ (e-training) ตามแผ่นป้ายของภาค ด้านล่าง (ฐานอบรมรายภาคจะเปิดให้เรียนรู้ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2564)







รายละเอียดโครงการ

1. ชื่อโครงการ
โครงการคลังความรู้ กศน.เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Thailand Knowledge Portal : TKP)  

2. หลักการและเหตุผลความจำเป็น
ตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยซึ่งเป็นเจตนารมณ์ของรัฐบาลกำหนดให้ การผลักดันภาครัฐไทยสู่ความเป็นเลิศ เป็นภารกิจสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายตามวิสัยทัศน์   ประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นความ“มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”ของประเทศ จากบริบท ที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในด้านเทคโนโลยี ด้านความต้องการของภาคประชาชน ด้านการแข่งขันในเวทีโลก และด้านภารกิจของรัฐบาลปัจจุบัน ทำให้มีความจำเป็นต้องผลักดันภาครัฐไทยสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล ที่มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน มีการดำเนินงานแบบอัจฉริยะ ให้บริการโดยมีประชาชน เป็นศูนย์กลาง และขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแท้จริง สำนักงานส่งเสริมการศึกษา  นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยสถาบันการศึกษาทางไกลได้ตระหนักถึงการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาจึงได้ทดลองนำร่องโครงการจัดการความรู้ชุมชนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Thailand Knowledge Portal : TKP) โดยใช้ Google Apps มาใช้ในการจัดการความรู้ชุมชน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561 โดยริเริ่มทดลองจัดเก็บข้อมูลองค์ความรู้ที่อยู่ในทุกตำบลของประเทศไทย ในหัวข้อต่างๆเช่น อาชีพชุมชน วัฒนธรรมท้องถิ่น ภูมิปัญญา แหล่งการเรียนรู้ ท่องเที่ยวชุมชน เป็นต้น ในระยะแรกเก็บข้อมูลใน 10 จังหวัดคือ น่าน ยะลา สมุทรปราการ ร้อยเอ็ด สิงห์บุรี อุดรธานี ลำพูน กาญจนบุรี สงขลา และได้ดำเนินการต่อเนื่องในปีงบประมาณถัดมา โดยมีความคาดหวังในการเก็บรวบรวมข้อมูลในระดับตำบล ทั้ง 7,480 ตำบล ซึ่งจะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ชุมชนในทุกมิติ คลังความรู้ขนาดใหญ่นี้จะเป็น Big Data ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน โดยการบริหารจัดการ Google accounts และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและขยายผลการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ออกเป็น 3 ระยะคือ การจัดเก็บข้อมูลระดับตำบลทุกตำบล การนำข้อมูลมาใช้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาต่อเนื่อง การจัดองค์ความรู้ ไปสู่คลังความรู้เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Knowledge Bank) ที่เกิดขึ้นจากการบูรณาการความร่วมมือขององค์กรในทุกระดับของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลสำคัญในการจัดทำโครงการคลังความรู้ กศน. เพื่อเป็นพจนานุกรมสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนต่อไป

3. วัตถุประสงค์
3.1 เพื่อพัฒนาบุคลากร กศน.ตำบลในการจัดทำคลังความรู้ กศน.เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยให้สถาบัน กศน.ภาคเป็นฐาน
3.2 เพื่อจัดการระบบข้อมูลชุมชนมาพัฒนาเป็นคลังความรู้ กศน.เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Knowledge Bank)

4. เป้าหมายโครงการ (Output)
4.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ
      อบรม/ให้ความรู้แก่บุคลากร กศน.ตำบล จำนวน 1,600 คน
4.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ
      1) บุคลากรมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เพื่อพัฒนาและจัดการความรู้ได้
      2) ได้บทความที่สามารถเก็บเป็นหมวดหมู่ จำนวน 8,000 บทความ 

5. กลุ่มเป้าหมายโครงการ (Target group)
5.1 บุคลากรในบุคลากร กศน.ตำบลทั่วประเทศ จำนวน 1,600 คน
5.2 ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี

6. ตัวชี้วัดเป้าหมายโครงการ (Outputs) และตัวชี้วัดผลลัพธ์ (Outcomes)
6.1 ตัวชี้วัดเป้าหมายโครงการ (Outputs)
      1) บุคลากรในบุคลากร กศน.ตำบลทั่วประเทศจำนวน 1,600 คน
      2) บทความเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในระดับตำบลในหัวข้อต่างๆ เช่น อาชีพชุมชน วัฒนธรรม ท้องถิ่น ภูมิปัญญา แหล่งการเรียนรู้ ท่องเที่ยวชุมชน ฯลฯ ทั้งสิ้น 8,000 บทความ
6.2 ตัวชี้วัดผลลัพธ์ (Outcomes)
      1) ระบบคลังความรู้ กศน.เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตสามารถเป็นพจนานุกรมสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนทั่วประเทศ
      2) ระบบคลังความรู้ กศน.สามารถนำมาใช้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาต่อเนื่อง สำหรับนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียนได้
      3) ระบบคลังความรู้ขนาดใหญ่นี้จะเป็น Big Data ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการจัดการศึกษา การพัฒนาชุมชน โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ชุมชน และวัฒนธรรม ก่อให้เกิดคุณค่า  ทางเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และการสร้างรายได้ของประเทศต่อไป

7. วิธีดำเนินการ(Activity) – กิจกรรม
7.1 วิธีดำเนินการ (Activity)
      1) สถาบันการศึกษาทางไกลประสานแผนการดำเนินงานกับสถาบัน กศน.ภาคทั้ง 5 ภาค 
      2) กลุ่มแผนงานโอนงบประมาณค่าใช้จ่ายให้กับสถาบัน กศน.ภาคทั้ง 5 ภาค ตามสัดส่วนครูกศน.ตำบลในภาคนั้นๆในอัตรา 2,480 บาทต่อหัว
      3) สถาบันการศึกษาทางไกล และสถาบันฯกศน.ภาค จัดตั้งคณะทำงานร่วมกับสำนักงาน กศน.จังหวัด ดำเนินการพัฒนาบุคลากร
      4) คณะทำงานสถาบันการศึกษาทางไกล และสถาบัน กศน.ภาค ดำเนินการประชุมปฏิบัติการบุคลากร กศน.ตำบล จำนวน 1,600 ทั่วประเทศ (ตามรายภาค)

7.2 กิจกรรม

กิจกรรม(หลัก)

ต้นทาง

กลางทาง

ปลายทาง

7.2.1 กลุ่มแผนงานโอนงบประมาณค่าใช้จ่ายให้กับสถาบัน กศน.ภาคทั้ง 5 ภาค ตามสัดส่วนครู กศน.ตำบลในภาคนั้นๆในอัตรา 2,480 บาทต่อหัว

กลุ่มแผนงานฯ

 

สถาบัน กศน.ภาค

7.2.2 สถาบันการศึกษาทางไกลและสถาบันฯกศน.ภาค จัดตั้งคณะทำงานร่วมกับสำนักงาน กศน.จังหวัด ดำเนินการพัฒนาบุคลากร

สทก. และสถาบัน กศน.ภาค

สถาบันฯภาค
กศน.จังหวัด

ครู กศน.ตำบล

7.2.3 คณะทำงานสถาบันการศึกษาทางไกล สถาบันฯกศน.ภาค และสำนักงาน กศน.จังหวัดดำเนินการประชุมปฏิบัติการบุคลากร กศน.ตำบล จำนวน 1,600 คน ทั่วประเทศ (ตามรายภาค)

สทก.

สถาบันฯภาค
กศน.จังหวัด

ครู กศน.ตำบล

8. ตัวชี้วัดกิจกรรม   
    ระบบคลังความรู้และบทความเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในระดับตำบลในหัวข้อต่างๆ เช่น อาชีพชุมชน วัฒนธรรมท้องถิ่น ภูมิปัญญา แหล่งการเรียนรู้ ท่องเที่ยวชุมชน ฯลฯ ทั้งสิ้น 8,000 บทความ ภายใต้การเก็บข้อมูลจริง และเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงาน กศน

9. ระยะเวลาดำเนินการ (วัน/เดือน/ปี)
    ปีงบประมาณ 2564

10. สถานที่ดำเนินการ/*พื้นที่ดำเนินการ
      สถาบัน กศน.ภาคทุกภาค/สำนักงาน กศน.จังหวัด

11. งบประมาณ
      4,991,000.- บาท (สี่ล้านเก้าแสนเก้าหมื่นหนึ่งพันบาทถ้วน) 

12. การวิเคราะห์ความเสี่ยงของโครงการ
      1) งบประมาณที่ได้รับ
      2) ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานของอินเทอร์เน็ต
      3) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของครู กศน.

13. หน่วยงานรับผิดชอบ
13.1 หน่วยงาน (หลัก)…สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย…
13.2 หน่วยงาน (ร่วม)…สถาบันการศึกษาทางไกล สถาบัน กศน.ภาคทุกภาค

14. ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (Impact)
กระทรวงศึกษาธิการมีระบบคลังความรู้เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยเรียน และประชาชนนอกระบบโรงเรียน และมีบทความเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในระดับตำบลในหัวข้อต่างๆ เช่น อาชีพชุมชน วัฒนธรรมท้องถิ่น ภูมิปัญญา แหล่งการเรียนรู้ ท่องเที่ยวชุมชน ฯลฯ ทั้งสิ้น 8,000 บทความ ภายใต้การเก็บข้อมูลจริงของครูผู้ปฏิบัติงานในตำบล









พื้นที่ ที่ดำเนินการไปแล้ว








ไม่มีความคิดเห็น

Do not recommend gambling sites of any kind. If violated, will be prosecuted according to the law.

ขอบคุณที่ได้ให้ความสนใจบทความ ใน mediathailand network ครับ

new story

Recent Posts Widget